นักวิจัยสร้างคอนแทคเลนส์ซูมได้ตามสั่ง

0

นักวิทยาศาสตร์จาก the University of California San Diego ได้ออกแบบคอนแทคเลนส์ตัวต้นแบบที่ควบคุมผ่านการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา โดยผู้ใส่คอนแทคเลนส์สามารถให้เลนส์ซูมเข้าออกได้ด้วยการกะพริบตาสองครั้ง ซึ่งผลการวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ใน Advanced Functional Materials

คอนแทคเลนส์ที่เลียนแบบธรรมชาติ (biomimetic lens) ทำมาจากแผ่นฟิล์มโพลิเมอร์ยืดหยุ่นได้ที่ตอบสนองต่อสัญญาณไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของดวงตา (electrooculographic signal หรือ EOG)  เช่น การกะพริบตา ซึ่งมนุษย์สามารถปล่อยสัญญาณไฟฟ้ากระตุ้นนี้ขณะนอนหลับอยู่ได้ Shengqiang Cai ผู้นำงานวิจัยนี้เผยว่า “แม้ว่าดวงตาจะไม่เห็นอะไรอยู่ มนุษย์ก็ยังสามารถกลอกตาและสร้างสัญญาณไฟฟ้าเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของดวงตาได้” จึงทำให้ตัวเลนส์ปรับระยะโฟกัสได้ตามสัญญาณไฟฟ้าที่สร้างขึ้น

คอนแทคเลนส์ตัวต้นแบบนี้ยังอยู่ในช่วงพัฒนา ซึ่งยังคงใช้งานได้เฉพาะสภาพที่กำหนดไว้ ผู้ใช้ต้องติดชุดขั้วไฟฟ้า 5 ตัวไว้รอบดวงตาด้วยซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนกล้ามเนื้อ เมื่อโพลิเมอร์นูนขึ้นมา ตัวเลนส์จึงจะทำหน้าที่ขยายภาพได้

นักวิจัยจึงหวังว่า นวัตกรรมนี้สามารถนำไปใช้ได้ในการใส่เป็นอวัยวะเทียมเพื่อการมองเห็น แว่นปรับได้ และการใช้งานในหุ่นยนต์ที่ควบคุมจากระยะไกลในอนาคต