หุ่นยนต์สั่งการด้วยสมองช่วยผู้ป่วยอัมพาตเดินได้อีกครั้ง

0

ผู้ป่วยอัมพาตสามารถกลับมาเดินได้อีกครั้งด้วยความช่วยเหลือของโครงกระดูกหุ่นยนต์ที่สามารถสั่งการได้ผ่านสมอง ซึ่งต่างจากวิทยาการหุ่นยนต์สั่งการด้วยสมองแบบอื่นตรงที่หุ่นยนต์นี้ไม่ได้ใช้ขั้วไฟฟ้าฝังลงสมอง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อและอุปสรรคอื่นๆ ที่จำกัดการใช้งานหุ่ยนต์สั่งการด้วยสมองให้มีประสิทธิภาพ

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาของ the University of Grenoble Alpes ในฝรั่งเศส ผู้ป่วยรายหนึ่งชื่อ Thibault ยินยอมให้ตัวเซนเซอร์สมองที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 64 ชิ้น แทนที่ชิ้นกระดูกขนาด 5 ซม. 2 ชิ้น นักวิจัยได้ทำแผนผังสมองของ Thibault เพื่อดูว่าพื้นที่ในสมองส่วนใดทำงานเมื่อเขานึกถึงการเดินและการเคลื่อนไหวแขน จากนั้นจึงใช้แผนที่นั้นฝึกระบบ Thibault เริ่มฝึกโดยจินตนาการถึงการเดินและการเคลื่อนไหวตัวอวาทาร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ จากนั้นเขาจึงถูกยึดกับชุดหุ่นยนต์โครงกระดูกหนัก 65 กิโลกรัม และสามารถเดินได้สำเร็จ

ทั้งนี้ ระบบยังไม่สมบูรณ์นัก เพราะยังต้องมีตัวรองรับส่วนเหนือศีรษะเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ล้มได้ แต่เนื่องจากขั้วไฟฟ้าไม่ได้ถูกฝังโดยตรงลงในสมอง ก็ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อในสมองได้ การทดลองครั้งก่อนๆ ที่ฝังขั้วไฟฟ้าในสมองนั้นไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากมีเซลล์สร้างตัวขึ้นรอบๆ ขั้วไฟฟ้า

แต่ในการทดลองนี้ นักวิจัยคาดว่ากรณีเช่นนั้นจะไม่เกิดขึ้น และขั้วไฟฟ้าของ Thibault ก็ยังคงใช้การได้หลังจากผ่านไป 27 เดือน เมื่อปรับระบบให้ใช้งานได้เสถียรขึ้น นักวิจัยกล่าวว่าระบบสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ และเทคโนโลยีขนาดกะทัดรัดในชุดหุ่นยนต์น่าจะช่วยให้ลดความยุ่งยากเทอะทะลงไปอีกด้วย