จนถึงวันนี้ได้มีความพยายามมากมายที่จะผลิตไฟฟ้าโดยใช้น้ำฝน หากแต่สิ่งนี้อาจจะเป็นหนึ่งในโซลูชันที่มีประสิทธิภาพที่มากกว่าเดิมก็เป็นได้ โดยนักวิจัยได้พัฒนาตัวกำเนิด (generator) ที่ใช้โครงสร้างสไตล์แบบทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า (field-effect transistor) เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าแรงสูงได้ทันทีทันใดอย่างไม่น่าเชื่อจากเพียงแค่หยดน้ำลงไปเท่านั้น ซึ่งเพียงหยดเดียวก็สามารถรวมแรงดันได้ถึง 140 V ซึ่งเพียงพอที่จะให้พลังงานกับหลอด LED ขนาดเล็ก 100 หลอดให้สว่างขึ้นได้ หากแต่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าตัวกำเนิดก่อนหน้านี้ที่ไม่มีโครงสร้างดังกล่าวนั้นสามารถผลิตได้มากกว่า”หลายเท่า”แต่ได้พลังงานที่หนาแน่น ณ เวลานั้นน้อยกว่า
การออกแบบใหม่นี้ได้นำเอาขั้วไฟฟ้าอลูมิเนียมผสมกับขั้วไฟฟ้าดีบุกออกไซด์ (indium tin oxide) ที่ขั้นด้วยชั้นเทฟล่อน (Polytetrafluoroethylene : PTFE) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีประจุไฟฟ้า “กึ่งถาวร”อยู่ เมื่อหยดน้ำชนกับพื้นผิวของ PTFE หรือดีบุก มันจะเชื่อม 2 ขั้วไฟฟ้าแล้วสร้างวงจรปิดขึ้นมา ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้ปลดปล่อยประจุที่มีการจัดเก็บไว้ได้อย่างเต็มที่ เทคโนโลยีดังกล่าวนี้จึงอาจจะใช้กับน้ำฝนแบบถาวรได้ โดยถ้าหากว่ามีการหยุดน้ำลงไปอย่างต่อเนื่อง ตัวประจุก็จะมีการสะสมจนในที่สุดก็จะถึงสภาพอิ่มตัวได้
สิ่งนี้ก็ยังคงมีงานที่จะต้องทำต่อเพื่อที่จะแปลงไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับการใช้งานจริง โดยการระเบิดพลังงานออกมาสั้นๆ นั้นทำได้ง่าย แต่การกักเก็บให้เพียงพอสำหรับการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องได้นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถึงกระนั้น สิ่งนี้ก็มีศักยภาพที่จะนำมาใช้งานได้ง่ายๆ โดยอาจจะนำตัวกำเนิดนี้มาติดไว้ที่พื้นผิวที่ฝน (หรือที่มีน้ำกระเด็น) มาโดนได้ อย่างเช่นหลังคาบ้านที่อาจจะใช้ชดเชยการใช้ไฟของอุปกรณ์บางอย่างในบ้านได้ หรือว่าใช้กับเรือไฟฟ้าที่อาจจะทำให้สามารถเดินทางได้ยาวนานกว่าเดิม หรืออาจจะนำไปติดกับอุปกรณ์ที่ยังไงก็ต้องเปียกอยู่แล้วเพื่อให้มีพลังงานไฟฟ้าในอุปกรณ์นั้นได้ อย่างเช่น ร่ม หรือว่าขวดน้ำ เป็นต้น
Source : https://www.engadget.com/2020/02/09/raindrop-electricity-generator/