AI ค้นพบยาปฏิชีวนะที่ฆ่าแบคทีเรียดื้อยาได้

0
https://o.aolcdn.com/images/dims?quality=85&image_uri=https%3A%2F%2Fo.aolcdn.com%2Fimages%2Fdims%3Fcrop%3D1600%252C1067%252C0%252C0%26quality%3D85%26format%3Djpg%26resize%3D1600%252C1067%26image_uri%3Dhttps%253A%252F%252Fs.yimg.com%252Fos%252Fcreatr-uploaded-images%252F2020-02%252F96e36800-55c7-11ea-aeef-0998ce2acd94%26client%3Da1acac3e1b3290917d92%26signature%3D2e961db71cfa44b9dab8eb45dd810e3ebf6d85c0&client=amp-blogside-v2&signature=639658941fbc15a74ae20e56c34f85eea1041a1e

การใช้ AI คิดค้นยาตัวใหม่เริ่มจะเห็นผลขึ้นมาแล้ว เมื่อนักวิทยาศาสตร์จาก MIT ได้เปิดเผยว่า AI ได้ค้นพบสารประกอบยาปฏิชีวนะชื่อ ฮาซิลิน (halicin ตั้งชื่อตาม HAL 9000 ปี 2001) ที่ไม่ได้ฆ่าได้แค่แบคทีเรียดื้อยาได้หลายรูปแบบเท่านั้น แต่ยังทำได้ในแนวทางที่ทันสมัยอีกด้วย โดยในขณะที่ยาปฏิชีวนะหลายๆ ตัวนั้นมักค่อยๆ ทยอยทำงานตามที่ตัวยามีอยู่ แต่ halicin นั้นจะจัดการกับแบคทีเรียโดยไปทำลายทักษะการรักษาเกรเดียนต์ประจุไฟฟ้าเคมี ( electrochemical gradient) ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ผลิตพลังงานที่เก็บในโมเลกุล สิ่งนี้จะทำให้แบคทีเรียยากที่จะต้านทานได้

ทีมงานได้พัฒนาระบบได้สำเร็จที่จะค้นหาโครงสร้างโมเลกุลตามคุณสมบัติที่ต้องการ (เพื่อฆ่าแบคทีเรีย) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งไม่เหมือนกับวิธีการก่อนหน้านี้ โครงข่ายประสาทเทียม (Neural network) จะเรียนรู้ตัวแทนของโมเลกุลได้อัตโนมัติ สามารถจับคู่ข้อมูลให้ไปอยู่ในรูปแบบของเวกเตอร์ต่อเนื่อง (continuous vector) ที่สามารถช่วยทำนายพฤติกรรมของพวกมันได้ และเมื่อพร้อม นักวิจัยก็ได้เทรนระบบ AI บนข้อมูล 2,500 โมเลกุลที่มีข้อมูลยา 1,700 ชุดที่สร้างขึ้นและอีก 800 ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ซึ่งเมื่อสั่งให้ค้นหาชุดสารประกอบ 6,000 ชุดในฐานข้อมูล ระบบ AI ก็ค้นพบว่า halicin น่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

อย่างไรก็ดี อย่าเพิ่งคาดหวังว่าจะสามารถทำใบสั่งยา halicin ได้ในเร็วๆ นี้ เพราะ MIT เพิ่งทดลองใช้ยาเพื่อกำจัด A. baumanii (เป็นการติดเชื้อที่พบบ่อยกับทหารสหรัฐในอัฟกานิสถานและอิรัก) ในหนู หากแต่ยังไม่ได้มีการทดลองใช้ในมนุษย์จริงๆ สิ่งนี้จึงเป็นเพียงแค่ช่วงเริ่มต้นมากกว่าที่จะเริ่มมาใช้งานกันอย่างจริงจัง อีกทั้ง นักวิทยาศาสตร์ยังได้ใช้โมเดลอื่นๆ เพื่อที่จะสกรีน 100 ล้านโมเลกุลในอีกฐานข้อมูลด้วย โดยยังพบว่ามีอีก 23 ตัวเลือก และพวกเขายังหวังว่าจะออกแบบยาปฏิชีวนะจากเริ่มต้นและปรับแต่งยาที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการออกไปได้ด้วย ถึงกระนั้น สิ่งนี้ยังไม่สามารถการันตีได้ว่าจะสามารถจัดการเจ้า”superbugs” ได้ แต่ถ้าหากว่าทำสำเร็จแล้ว ก็คงจะช่วยได้อีกหลายชีวิตเลยทีเดียว

Source : https://www.engadget.com/2020/02/22/ai-discovers-powerful-antibiotic/