นักวิทยาศาสตร์ที่ Swinburne University of Technology ในเมืองเมลเบิร์นได้พัฒนากระบวนการใหม่ที่สักวันหนึ่งอาจจะทำให้คอนกรีตงอได้นี้มีการใช้งานเป็นหลักกันทั่วโลก ซึ่งคอนกรีตนี้ยังทำให้เกิดคาร์บอนน้อยลงไปได้อีกหากเทียบกับการทำวัสดุในปัจจุบัน
แทนที่จะใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland) ซึ่งเป็นซีเมนต์แบบดั้งเดิม คอนกรีตใหม่นี้จะรวมเข้ากับเถ้าลอย (Fly Ash) ซึ่งเป็นส่วนที่ได้มาของการเผาถ่านหินเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน จริงแล้วแนวทางการใช้เถ้าลอยเพื่อสร้างคอนกรีตนั้นก็เป็นวิธีการเก่าแล้ว โดยวิศวกรคุณ Ancient Roman ได้ผสมเถ้าภูเขาไฟกับปูนขาวเพื่อสร้างวัสดุก่อสร้างอันเป็นเอกลักษณ์ของพวกเขา ซึ่งบางโครงสร้างที่พวกเขาเคยทำมานั้นยังคงตั้งอยู่จนถึงวันนี้ได้ หากแต่ส่วนที่ทาง Swinburne University พยายามทำคือเป็นการนำเอาใยสังเคราะห์มาผสมลงในคอนกรีต แล้วสร้างกระบวนการผลิตโดยที่ไม่ต้องใช้ความร้อนในการบ่มคอนกรีต (curing)
ข้อได้เปรียบของคอนกรีตแบบนี้นั้นได้ถึงสองอย่าง อย่างแรกก็คือมันมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าอย่างมากในการผลิตขึ้นมา เพราะว่าไม่ต้องใช้ความร้อนใส่หินปูนเพื่อทำให้เกิดส่วนประกอบซีเมนต์ ซึ่งทีม Swinburne เคลมว่ามันใช้พลังงานน้อยลงกว่าวิธีการสร้างคอนกรีตงอได้แบบดั้งเดิมถึง 36% อีกทั้งกระบวนการนี้ยังลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปได้ถึง 75% มันจึงคุ้มค่าที่จะทำให้มีการใช้วัสดุดังกล่าวกันอย่างกว้างขวางในโลกใบนี้
ในขณะเดียวกัน ใยพอลิเมอร์ที่อยู่ภายในคอนกรีตก็จะช่วยทำให้เหมือนมีความคงทนระดับเส้นผม และไม่แตกหักเป็นชิ้นๆ ตามข้อมูลของ ดร. Behzad Nematollahi หนึ่งในนักวิจัยที่พัฒนาวัสดุดังกล่าว สิ่งนี้สามารถงอได้มากกว่าคอนกรีตทั่วไปถึง 400 เท่า ซึ่งทำให้เป็นวัสดุในอุดมคติที่สามารถนำไปใช้งานในที่ที่มีแผ่นดินไวบ่อยๆ ได้
แท้จริงแล้ว คอนกรีตงอได้นั้นไม่ใช่หลักการใหม่อะไร โดยคนแรกที่พัฒนาขึ้นมาคือ ดร. Victore Li ศาสตราจารย์วิศวกรด้านสิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2533 แต่อย่างไรก็ดี ประเด็นคึอการผลิตวัสดุดังกล่าวในราคาที่เข้าถึงได้ ซึ่งคอนกรีตที่สร้างโดย ดร. Li ณ เมื่อปีที่แล้วมีราคาแพงกว่าคอนกรีตดั้งเดิมถึง 4 เท่า ดังนั้น สิ่งที่ทีมนักวิจัยพัฒนาขึ้นมานี้อาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างวัสดุคอนกรีตงอได้ที่ใช้ต้นทุนน้อยกว่าในการผลิตแบบเดิม หากแต่การนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายได้นั้นคงจะอีกหลายปี
Source : https://www.engadget.com/2020/03/04/swinburne-university-bendable-concrete/