WhatsApp เปิดตัวฮับตรวจสอบความจริงเรื่องไวรัสโคโรนา

0
https://o.aolcdn.com/images/dims?quality=85&image_uri=https%3A%2F%2Fo.aolcdn.com%2Fimages%2Fdims%3Fcrop%3D5800%252C3557%252C0%252C164%26quality%3D85%26format%3Djpg%26resize%3D1600%252C981%26image_uri%3Dhttps%253A%252F%252Fs.yimg.com%252Fos%252Fcreatr-images%252F2020-03%252F05e4eaa0-692b-11ea-bbbb-7d30654981c4%26client%3Da1acac3e1b3290917d92%26signature%3D9c09da935c7525511e8ff5a682d0414d25237ff2&client=amp-blogside-v2&signature=b028527e1d05b145e02222a3f992e42bef1f153c
BERLIN, GERMANY - FEBRUARY 25: The Logo of instant messaging service WhatsApp is displayed on a smartphone on February 25, 2018 in Berlin, Germany. (Photo by Thomas Trutschel/Photothek via Getty Images)

WhatsApp สามารถเป็นได้มากกว่าแอปสำหรับส่งข้อความ โดยในยุโรป อินเดีย และส่วนอื่นๆ ของโลกนั้น มันเป็นเหมือนโซเชียลเน็ตเวิร์กในแบบฉบับตัวเองตัวหนึ่งเลย และเพื่อช่วยให้หลีกหนีจากการกระจายข้อมูลที่ผิดๆ ไปเกี่ยวกับเรื่องการแพร่กระจายไวรัสโคโนา บริษัทที่ Facebook เป็นเจ้าของนี้ จึงได้สร้าง information hub เพื่อให้บริการให้คำปรึกษากับผู้ใช้เพื่อที่จะสามารถดูแลเพื่อนๆ และครอบครัวให้มีข้อมูลที่ถูกต้องล่าสุดและสามารถแบ่งปันข้อมูลที่ได้รับการยืนยันแล้วได้

โดยเว็บไซต์ดังกล่าวได้เปิดตัวขึ้นมาพร้อมกับความร่วมมือกับหน่วยงาน World Health Organization (WHO), UNICEF และ UNDP ซึ่งมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือมากกว่าแค่บริบททางสังคมอีกด้วย โดยจะมีเรื่องการให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพ การศึกษา การปกครองท้องถิ่น และธุรกิจ ที่จะสามารถเชื่อมต่อระหว่างกันได้แม้ว่าจะมีเรื่อง social distance ที่เป็นประเด็นร้อนตอนนี้อยู่ก็ตาม

WhatsApp ยังคงให้เงินทุนกับ International Fact-Checking Network (IFCN) ของสถานบัน Poynter Institute เป็นจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐด้วย ซึ่งเงินทุนนั้นมุ่งหวังที่จะสนับสนุนเหล่าพันธมิตร #CoronaVirusFacts ซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนที่มีมากกว่า 100 องค์กรท้องถิ่นในกว่า 45 ประเทศ โดยสมาชิกจะได้รับการเทรนฟีเจอร์ขั้นสูงของ WhatsApp อย่างเช่น การเรียกใช้ API ซึ่งจะช่วยให้สามารถสร้างโปรโตคอลการตรวจสอบความจริงขึ้นมาได้เอง ดังนั้น ชุมชนท้องถิ่นต่างๆ จะสามารถตอบสนองต่อข้อมูลที่บิดเบือนไปหรือข่าวลือที่ผิดที่เป็นอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งในเรื่องการแพร่กระจายในวงกว้างของไวรัส COVID-19 ด้วย

ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนไปนั้นสามารถกระจายออกไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อผู้คนรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว และโลกโซเชียลนั้นก็ทำให้ข่าวลวงหรือข้อมูลที่ไม่ได้มีการตรวจสอบเหล่านั้นถูกส่งต่อซ้ำๆ ไปได้ง่ายมาก ซึ่งการจัดตั้งทีมร่วมกับเจ้าหน้าที่อย่าง WHO และ UNICEF นั้นได้ทำให้เห็นว่า WhatsApp ตั้งใจดำเนินการในประเด็นดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งหวังว่าการลงแรงเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งปันข้อมูลได้อย่างมีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้นได้

Source : https://www.engadget.com/2020/03/18/whatsapp-coronavirus-fact-checking/