ทีมนักวิจัยจาก Facebook AI และ NYU Langone Health ได้พัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมที่ร่นระยะเวลาการตรวจร่างกายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) เป็นชั่วโมงให้เหลือแค่เพียงไม่กี่นาที
MRI เป็นการตรวจที่ให้ข้อมูลเชิงลึกของร่างกายผู้ป่วยแก่บุคลากรทางการแพทย์ แต่เครื่องมือนี้ต้องใช้เวลาสแกนค่อนข้างนาน และผู้ป่วยต้องนอนอยู่นิ่ง ๆ ซึ่งไม่เหมาะกับเด็กเล็กที่ต้องพึ่งยาสลบและผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างเส้นเลือดในสมองแตก
:no_upscale()/cdn.vox-cdn.com/uploads/chorus_asset/file/21766684/AI_Blog_fastMRI_Desktop.jpg)
ทีมนักวิจัยจึงได้ใช้เวลา 2 ปี คิดค้น AI ที่มีชื่อว่า fastMRI ซึ่งช่วยลดเวลาการสแกน เพราะใช้ข้อมูลเพียงแค่ 1 ใน 4 ในการผลิตภาพออกมา โดยนำคู่ภาพสแกน MRI ความละเอียดต่ำและความละเอียดสูงมาใช้ฝึกโมเดลเพื่อคาดการณ์ว่าภาพสแกนสุดท้ายจะออกมาเป็นอย่างไรจากข้อมูลอินพุตเพียง 1 ใน 4 ของข้อมูลอินพุตปกติ นั่นหมายความว่าการสแกนจะทำได้เร็วขึ้น รบกวนผู้ป่วยน้อยลง และวินิจฉัยได้เร็วขึ้น
/cdn.vox-cdn.com/uploads/chorus_asset/file/21766686/Traditional_MRI_full_k_space_720.gif)
/cdn.vox-cdn.com/uploads/chorus_asset/file/21766687/fastMRI_undersampled_k_space_720.gif)
ในงานวิจัย นักรังสีวิทยาได้ทำการวินิจฉัยหัวเข่าของผู้ป่วยจากทั้งภาพสแกน MRI แบบเดิมและภาพที่ใช้ AI ช่วย ผลคือนักรังสีวิทยาสามารถประเมินผลได้แบบเดียวกันจากภาพสแกนทั้งสองแบบ และแยกไม่ออกว่าภาพไหนสร้างมาจาก AI
ในตอนเริ่มต้น ข้อมูลอินพุตที่ใช้สร้างภาพสแกน AI ครอบคลุมทุกส่วนของร่างกาย โมเดลระบบเรียนรู้ไม่ได้ทำนายภาพสุดท้ายจากภาพเพียงบางส่วน แต่อาศัยภาพทุกส่วน เพียงแต่เป็นภาพความละเอียดต่ำเท่านั้น ขั้นที่สอง นักวิจัยสร้างระบบตรวจสำหรับโครงข่ายประสาทเทียมตามภาพสแกน MRI กล่าวคือ ในระหว่างการสแกนแบบเดิมนั้น ระบบ AI ตรวจดูว่าข้อมูลเอาท์พุตตรงกับที่เครื่อง MRI สแกนออกมาหรือไม่ จึงไม่ใช่เป็นการสุ่มสร้างภาพขึ้นมาเฉย ๆ แต่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบให้ตรงกับการสแกน MRI แบบดั้งเดิม
ทีมวิจัยมั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาลได้ในอีกไม่กี่ปี โดยชุดข้อมูลฝึกและโมเดลที่สร้างนี้เปิดให้เข้าถึงได้และผนวกรวมกับเครื่อง MRI ที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องมีฮาร์ดแวร์ใหม่แต่อย่างใด ทั้งนี้ นักวิจัยอยู่ในขั้นตอนเจรจากับบริษัทผู้ผลิตเครื่องสแกน MRI แล้ว