
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสิ่งที่พวกเขาอาจจะเรียกว่าเป็นดาวเคราะห์โรก (rogue planet) ที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยตรวจจับได้ โดยดาวเคราะห์นั้นได้ถูกค้นพบโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Warsaw ซึ่งพบอยู่ตรงกลางทางช้างเผือกเลย และคาดว่าน่าจะมีขนาดอยู่ระหว่างขนาดของโลกกับดาวอังคาร
ดาวเคราะห์โรกนั้นเป็นดาวเคราะห์ที่ไม่ได้มีแรงโน้มถ่วงดึงดูดอยู่กับดาวฤกษ์ดวงใดจึงไม่ได้โคจรรอบดาวอะไร ซึ่งยากมากที่จะตรวจจับได้ โดยนักวิจัยได้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า “ไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง (microlensing)” ที่จะทำให้นักวิทยาศาสตร์ค้นหาดาวเคราะห์ที่พวกเขาไม่สามารถสังเกตเห็นได้มาก่อน
“ดาวเคราะห์โรกจะไม่โคจรรอบดวงดาวใดๆ ดาวเหล่านั้นจะไม่ได้เชื่อมต่อดึงดูดกับดาวหลัก (host star) แต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่ได้ปล่อยรังสีที่ตรวจจับได้ใดๆ อีกด้วย ดังนั้นดาวเคราะห์โรกจึงไม่สามารถตรวจจับได้โดยใช้เทคนิคฟิสิกส์ดาราศาสตร์แบบดั้งเดิม” คุณ Przemek Mroz หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัยอธิบายบน Twitter
Scientific American โน้ตไว้ว่านักวิทยาศาสตร์ยังคงต้องมีการยืนยันสถานะของดาวเคราะห์โรกนี้อีกครั้ง หากแต่มันอาจจะกลายเป็นดาวเคราะห์ที่ลอยอย่างเป็นอิสระที่เล็กที่สุดเท่าที่ตรวจจับมาก็เป็นได้ ซึ่ง NASA ผู้ที่กำลังพัฒนากล้องโทรทรรศน์ที่จะสามารถตรวจจับดาวเคราะห์ที่ลอยอิสระแบบนี้ให้ได้นั้น ได้กล่าวว่าดาวเคราะห์โรกนั้นจะสามารถช่วยให้พวกเราเรียนรู้ได้ว่าดาวเคราะห์ต่างๆ นั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
Source : https://www.engadget.com/scientists-discover-rogue-planet-milky-way-200824310.html