ท่ามกลางภาวะโรคระบาดที่ทำให้ธุรกิจนั้นต้องเดินหน้าต่อไปให้ได้ท่ามกลางความไม่แน่นอน การที่ธุรกิจจะมีระบบ IT ที่ยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์นั้นจะช่วยให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้
Synology NAS Storage ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางนั้นมีทางเลือกในการปรับระบบ IT และวิธีการทำงานภายในองค์กรได้อย่างยืดหยุ่นและคุ้มค่า ด้วยความสามารถในการรองรับการทำงานที่หลากหลายของ Synology ที่คุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน โดยบทความนี้เราจะแนะนำ 5 ความสามารถเด่นๆ ที่สามารถใช้งานได้ฟรีบน Synology ที่จะช่วยให้ธุรกิจฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปได้ง่ายขึ้น
1. Remote Accessibility – เชื่อมต่อเครือข่ายมายังองค์กร และบริหารจัดการ Synology ได้จากทุกที่
การทำ VPN นั้นก็ถือเป็นความสามารถที่หลายธุรกิจมองหาเพื่อรองรับต่อการทำงานแบบ Remote Working ในยามนี้ เพื่อให้พนักงานสามารถเชื่อมต่อเข้ามายังระบบ Business Application สำคัญขององค์กร หรือไฟล์งานสำคัญที่ต้องใช้งานภายในองค์กรได้

Synology นั้นมีแพ็คเกจที่ชื่อว่า VPN Server พร้อมให้ติดตั้งใช้งานได้ทันทีโดยแทบไม่กินทรัพยากรใดๆ ในการใช้งาน สามารถสร้าง User ให้กับผู้ใช้งานแต่ละคนได้ และรองรับได้ทั้ง PPTP, OpenVPN และ L2TP/IPSec ในการใช้งาน https://sy.to/g3uad
สำหรับในมุมของการบริหารจัดการ QuickConnect คือความสามารถที่จะเปิดให้ผู้ดูแลระบบสามารถเชื่อมต่อบริหารจัดการอุปกรณ์ Synology ของตนเองได้ผ่านบริการ Cloud ของ Synology โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าใดๆ ภายในระบบเครือข่าย และไม่ต้องยุ่งยากกับการทำ DDNS แต่อย่างใด เพียงแค่ลงทะเบียนตั้งค่าบัญชี QuickConnect ของผู้ใช้งานแต่ละคนบน Synology NAS ที่มีเท่านั้นก็สามารถใช้งานได้ทันที https://quickconnect.to/
2. File Sharing & Collaboration – ทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ทันที ไม่ต้องเช่าบริการ Cloud เพิ่มเติม

แน่นอนว่าสำหรับจุดเด่นหลักๆ ของ Synology สำหรับโซลูชัน File Sharing เองนั้นก็ถือว่าเหมาะสมกับสถานการณ์การทำงานจากทุกที่ทุกเวลาในปัจจุบันนี้เป็นอย่างดี เพราะ Synology นี้สามารถให้บริการข้อมูลได้ผ่านทั้งในรูปแบบของ Network Drive และการใช้ Synology Drive ที่จะทำให้ไฟล์ทั้งหมดในเครื่องของผู้ใช้งานทุกท่านนั้น Sync รวมโดยอัตโนมัติกับไฟล์ใน Synology NAS ของบริษัท ช่วยให้บริษัทสามารถรวมศูนย์ไฟล์ข้อมูลได้แม้พนักงานจะอยู่ต่างที่ รวมถึงการจัดการไฟล์, การเข้าถึง แชร์ และสำรองข้อมูลนั้นง่ายดายขึ้นไปอีกระดับhttps://sy.to/3t0wg
ส่วนการเปิดอ่านหรือทำงานร่วมกันบนเอกสารไฟล์ต่างๆ บน Synology NAS นั้น ทาง Synology เองก็มี Synology Office สำหรับทำงานไฟล์ เอกสาร, ชีท และสไลด์ในตัว รวมถึงสามารถเปิดอ่านไฟล์ Word, Excel และ Powerpoint ได้อย่างไม่สะดุด ทำให้การทำงานร่วมกันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากทุกที่ ไม่ว่าอุปกรณ์ของผู้ใช้งานจะเป็นอุปกรณ์ใด โซลูชันนี้จะให้ประสบการณ์ที่เหมือนกับการใช้บริการ Cloud Productivity App ชั้นนำได้ในตัว https://sy.to/7abxu
นอกจากนี้ สำหรับธุรกิจองค์กรที่กังวลเรื่องของการใช้ระบบ Chat สาธารณะในการสื่อสารนั้น Synology เองก็มี Synology Chat ให้ใช้งานได้ฟรีๆ เพื่อให้การแชททั้งหมดเกิดขึ้นและถูกจัดเก็บอยู่บน Synology โดยตรง ไม่ต้องกังวลว่าไฟล์งานสำคัญที่แชร์ผ่านระบบ Chat นั้นจะถูกส่งออกไปภายนอกองค์กรในการสื่อสารอีกต่อไป แถมยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งแยกแพลตฟอร์มการสื่อสารภายในองค์กรและเรื่องส่วนตัวเพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการทำงาน https://sy.to/kwu0r
3. Data Protection – สำรองข้อมูลที่ใช้ทำงานด้วย Cloud Backup
ท่ามกลางการทำงานแบบ Remote Working นี้ หลายธุรกิจก็ได้หันไปใช้บริการ Cloud เพื่อให้พนักงานยังคงทำงานได้จากที่บ้าน และเพื่อให้ข้อมูลสำคัญของธุรกิจนั้นยังคงถูกปกป้องเอาไว้อย่างต่อเนื่อง Synology เองก็รองรับการสำรองข้อมูลบนบริการ Cloud ได้อย่างหลากหลาย ได้แก่

Active Backup for Business สำรองข้อมูลทั้งสำหรับ Server และ Client ภายในองค์กรมาจัดเก็บบน Synology ได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ประหยัดพื้นที่ด้วยการสำรองข้อมูลแบบ Incremental Backup และสามารถกู้คืนข้อมูลได้ง่ายด้วยระบบ Self-Service Portal https://sy.to/jakgl
Cloud Sync ซิงค์ข้อมูลระหว่าง Cloud และ Synology ได้อย่างง่ายดาย https://sy.to/zksjy และเพิ่มความยืดหยุ่นของการสำรองข้อมูลด้วยHyper Backup ในการสำรองข้อมูลและ LUN หลากเวอร์ชั่นจาก Synology NAS ที่ใช้งานไปยัง Cloud หรือ Synology NAS เครื่องอื่น https://sy.to/06l1a โดยทั้งสองแพคเกจนี้รองรับผู้ให้บริการ Cloud ได้หลากหลาย เช่น Dropbox, Google Drive, Microsoft OneDrive, Microsoft SharePoint, Azure, GCP, AWS, Alibaba Cloud และอื่นๆ อีกมากมาย

4. Data Center Modernization – ติดตั้งระบบงานอย่างยืดหยุ่นด้วย VM & Container
อีกความสามารถหนึ่งที่จะช่วยให้ Synology นั้นสามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจได้อย่างยืดหยุ่น ก็คือการรองรับทั้ง Virtual Machine และ Docker ได้ในตัว ทำให้ผู้ดูแลระบบ IT สามารถนำ CPU, RAM และ Storage ที่เหลืออยู่บน Synology แต่ละชุดมาใช้รองรับรับบริการใหม่ๆ ที่ธุรกิจต้องการติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อใช้งานในยามฉุกเฉินนี้ได้ทันที โดยไม่ต้องลงทุนจัดซื้อ Server เพิ่มเติมแต่อย่างใด
ภายใน Synology แต่ละชุดนี้จะมี Virtual Machine Manager ที่จะทำให้ Synology สามารถทำหน้าที่เป็น Hypervisor และทำการติดตั้ง Virtual Machine (VM) ผ่านทาง ISO ได้ตามต้องการทั้งจากบนเครื่อง PC ของเรา หรือจะโหลดผ่าน Download Manager มาเก็บไว้บน Synology โดยตรงก็ได้ ซึ่งระบบก็รองรับได้ทั้ง Windows และ Linux ค่ายหลักๆ อย่าง CentOS, Fedora, OpenSUSE, Red Hat, SUSE และ Ubuntu ครับ https://sy.to/oz8vo


สำหรับฝั่ง Container นั้น Synology ก็รองรับ Docker ได้ ทำให้สามารถใช้งาน Container ที่หลากหลายได้ตามต้องการ ซึ่งสำหรับใครที่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับแนวคิดของ Container หรือการใช้งาน Docker นั้น ภายใน Synology ก็มีข้อมูลใน Help ให้พร้อมเรียนรู้ได้ในขณะใช้งาน อีกทั้งใน Registry ก็ยังมี Container ให้โหลดมาใช้งานได้อีกด้วย ซึ่งในการใช้งานจริงก็ไม่ต้องกลัวแต่อย่างใด เพราะแทบทุกขั้นตอนนั้นสามารถทำผ่าน GUI ของ Synology ได้เลย https://sy.to/nbqba


ความสามารถส่วนนี้ถือว่าคุ้มมากๆ เพราะในเชิงของผู้ดูแลระบบก็เหมือนได้ระบบ Virtualization / Docker ขนาดเล็กสำหรับมาใช้ลองผิดลองถูกหรือติดตั้งระบบใช้งานฉุกเฉินแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ค่อนข้างดี และในขณะที่ส่วนระบบที่ไม่ได้ใช้งานอะไรก็ยังสามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนรู้ได้อีกด้วย
5. Digitalization – เปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็น Digital ด้วย Open Source Business Application
สำหรับธุรกิจที่มองหาระบบ IT เพื่อมาเปลี่ยนให้การทำงานในแผนกต่างๆ กลายเป็นแบบ Digital ได้อย่างรวดเร็วและไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ภายใน Synology นั้นมีแพ็คเกจ 3rd party สำหรับ Open Source Business Application ให้ติดตั้งใช้งานได้หลากหลาย เช่น

- vtigerCRM ระบบ Customer Relationship Management (CRM) สำหรับให้ฝ่าย Sales และ Marketing ทำการสร้างฐานข้อมูลลูกค้า, เปิดใบเสนอราคา, จัดการเอกสารการซื้อขาย และอื่นๆ อีกมากมาย
- OrangeHRM ระบบ Human Resource Management (HRM) ครอบคลุมการจัดเก็บข้อมูลพนักงาน, ระบบลางาน, ระบบลงตารางเวลาทำงาน, ระบบรับสมัครพนักงาน, ระบบชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน และอื่นๆ
- Moodle ระบบ Learning Management System (LMS) สำหรับใช้สร้างคอร์สออนไลน์อบรมพนักงานภายในหรือลูกค้าของธุรกิจ
- osTicket ระบบ Support Ticketing System สำหรับใช้สื่อสารและสนับสนุนการทำงานภายในองค์กร เช่น การเปิด IT Support Case เป็นต้น
- Redmine ระบบ Project Management สำหรับใช้บริหารจัดการโครงการและติดตามการทำงานในแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ภายในระบบเองก็ยังมีระบบอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ระบบบริหารจัดการ Source Code อย่าง Git หรือ SVN ไปจนถึงระบบ CMS ชั้นนำอย่าง WordPress ที่สามารถนำไปดัดแปลงเพื่อรองรับงานอื่นๆ ภายในธุรกิจได้อีกมากมาย โดย Synology จะทำหน้าที่เป็น Web Server และ Database Server เพื่อรองรับระบบเหล่านี้ให้โดยที่ผู้ดูแลระบบไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งดูแลรักษาระบบเบื้องหลังเอง
ทดลองใช้งานจริงบน Synology DS1621+

อันที่จริงแล้วทีมงาน TechTalkThai เราใช้งาน Synology DS718+ อยู่แล้วตั้งแต่หลายปีก่อน จนเมื่อปลายปี 2020 ที่ผ่านมานี้ก็ได้รับ Synology DS1621+ มาใช้งานแทน และพบว่าตัวเครื่องรุ่นใหม่นี้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิมมากทีเดียว ทั้งด้วย Software รุ่นใหม่ล่าสุด และ Hardware ที่ให้มาแบบเพียงพอต่อการใช้งาน ดังนี้
- CPU: AMD Ryzen V1500B (Quad-core 2.2GHz)
- RAM: 4 GB DDR4 ECC SODIMM (อัปเกรดได้สูงสุด 32GB)
- Drive Bay: 6 (เสริม Expansion Unit ได้อีก 16 ชุด)
- M.2 Drive Slot: 2 (สำหรับใส่ NVMe SSD ไว้ทำ Cache เพิ่มได้)
- Network: 4x 1GbE (รองรับการทำ Link Aggregation ได้)
- สล๊อต PCle 3.0 : 1x สล๊อต 4-lane x8 (รองรับการ์ดเสริม 10GbE network cards)
เบื้องต้นทางทีมงานได้ทดสอบด้วย Default Configuration คือใช้ RAM เพียงแค่ 4GB และใส่ 3.5″ HDD ลงไป 2 ชุด โดยยังไม่ได้ติดตั้ง M.2 SSD เพื่อดูว่าประสิทธิภาพเริ่มต้นจะเป็นอย่างไร ก็ปรากฎว่าค่อนข้างประทับใจครับ
ประการแรก เครื่องบูทเร็วกว่าเมื่อก่อนมากทีเดียว ตอนเปิดครั้งแรกระบบก็ใช้เวลาตั้งค่าต่างๆ ไม่นาน พร้อมใช้งานได้ในไม่กี่นาที และเมื่อทดลองอัปเกรด Software เป็นรุ่นล่าสุดแล้วก็สามารถทำได้รวดเร็วมาก เรียกได้ว่ารุ่นนี้ถึงจะไม่ใช่รุ่นใหญ่สำหรับธุรกิจองค์กร แต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานสำหรับการทำงานที่บ้าน หรือสำหรับธุรกิจขนาดเล็กได้สบายๆ แบบไม่หงุดหงิดอะไร แถมยังทำงานได้เงียบเชียบไม่รบกวนอีกด้วย (พัดลมดังแค่ตอนเปิดหรือปิดเครื่อง)
ประการถัดมา ด้วยทรัพยากรที่เยอะขึ้นกว่าเดิม การใช้งานระบบที่กินทรัพยากรของเครื่องอย่าง Virtual Machine หรือ Container ก็ทำได้ดีขึ้นเยอะมาก เพราะมีทรัพยากรเพียงพอไปจัดสรรให้ระบบต่างๆ ใช้งานได้อย่างเพียงพอ และไม่ทำให้ระบบอื่นๆ ทำงานช้าลง ส่วน Network Port เองก็ให้มาเยอะพอใช้งานได้สบายๆ แถมยังอัปเกรดเสริมการ์ดพอร์ต 10GbE ได้อีก 1-2 ช่องด้วย
สุดท้าย ด้วยความที่เครื่องมี Drive Bay มาให้พร้อมติดตั้งได้เยอะ ก็ทำให้วางแผนออกแบบระบบสำหรับใช้งานจริงได้ง่าย แบ่ง Physical Disk มาทำ RAID Group เพื่อรองรับงานต่างๆ กันได้ง่าย เช่น แบ่งชุดหนึ่งเอาไว้สำหรับการ Backup ข้อมูลโดยเฉพาะ แล้วแบ่งชุดที่เหลือเอาไว้สำหรับการทำ File Sharing ก็ถือว่าสะดวกดีและไม่ต้องกังวลว่า Operation ในแต่ละส่วนจะมาแย่งประสิทธิภาพของ Disk กันเอง ในขณะที่การย้ายข้อมูลมายัง Synology นั้นก็ไม่ยาก สามารถใช้แทนระบบ NAS หรือ File Server เดิมที่มีอยู่ได้ทันที เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานจริงในสถานการณ์ที่หลากหลาย โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://sy.to/ennyb
ทั้งนี้อีกจุดเด่นหนึ่งที่ Synology DS1621+ นี้ชูมากๆ ก็คือการรองรับ M.2 Drive ด้วยกัน 2 ช่อง เพื่อติดตั้ง SSD มาทำเป็น Cache ให้ระบบทำงานเร็วขึ้นแบบเห็นได้ชัดเจน แต่ในเชิงเทคนิคและการตั้งค่าเองก็สามารถปรับแต่งได้หลากหลายตามความต้องการในการใช้งาน เดี๋ยวตรงนี้จะขอเขียนแยกเป็นอีกรีวิวหนึ่งนะครับ
ติดต่อ Synology ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันของ Synology สามารถติดต่อทีมงาน Synology ได้ที่ https://sy.to/p5yes หรือตัวแทนจำหน่าย https://sy.to/iqa9a