IBM เผยชิป 2 นาโนเมตรตัวแรกของโลก

0
https://s.yimg.com/uu/api/res/1.2/xxX_ZQd7C2yDA3L9w8Kh3A--~B/Zmk9ZmlsbDtoPTQ0Nzt3PTY3NTthcHBpZD15dGFjaHlvbg--/https://s.yimg.com/os/creatr-uploaded-images/2021-05/1cf384d0-ac29-11eb-aab6-63b4c3770ad1.cf.webp

IBM เคลมว่าทางบริษัทได้ก้าวล้ำเทคโนโลยีชิปไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว โดยสามารถสร้างชิปขนาด 2 นาโนเมตรตัวแรกของโลกขึ้นมาได้ โดยบริษัทกล่าวว่าสามารถบีบอัดทรานซิสเตอร์จำนวนกว่า 50,000 ล้านตัวเข้าไปในชิปที่มีขนาดเท่าเล็บมือได้สำเร็จ

IBM ให้ข้อมูลว่าโครงสร้างสถาปัตยกรรมดังกล่าวนั้นสามารถช่วยให้หน่วยประมวลผลมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่า 45% เมื่อเทียบกับการใช้พลังงานจำนวนเดียวกันบนชิปขนาด 7 นาโนเมตร หรือมีประสิทธิภาพในระดับเดียวกันโดยใช้พลังงานน้อยลงกว่า 75% ซึ่งหน่วยประมวลผลที่ใช้ชิปขนาด 2 นาโนเมตรจำนวนมากนั้นจะสามารถให้ประสิทธิผลที่อาจจะอยู่กลางๆ ระหว่างประสิทธิภาพที่สูงขึ้นและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้ดีขึ้น

ส่วนอุปกรณ์มือถือด้วยหน่วยประมวลผลที่ใช้ชิป 2 นาโนเมตรนั้นจะสามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับชิป 7 นาโนเมตร ซึ่ง IBM เคลมว่าผู้ใช้อาจจะต้องนำไปชาร์จอุปกรณ์ใหม่ในทุกๆ 4 วัน ส่วนเครื่องแล็บท็อปนั้นก็จะมีความเร็วสูงขึ้น ส่วนยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติก็จะสามารถตรวจจับและตอบสนองต่อวัตถุต่างๆ ได้เร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ IBM ยังเคลมอีกว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องประสิทธิภาพการใช้พลังงานใน data center หรือการสำรวจอวกาศ หรืองานด้าน AI หรือ 5G กับ 6G หรือแม้แต่เรื่องการประมวลผลควอนตัมก็ได้ด้วยเช่นกัน

จากข่าวนี้ ดูเหมือนว่า IBM จะสามารถสร้าง breakthrough ได้ก่อนคู่แข่งอื่นๆ อย่างเช่น Apple M1 และ A14 ที่ออกมาพร้อมๆ กับ Huawei Kirin 9000 ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลตัวแรกๆ ที่ใช้เทคโนโลยีชิป 5 นาโนเมตรของ TSMC ส่วนผู้ผลิตรายอื่นๆ อย่างเช่น AMD และ Qualcomm Snapdragon 888 นั้นก็ได้ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีชิป 5 นาโนเมตรของทาง Samsung ส่วนทาง Intel ก็ยังคงอยู่ในระหว่างการพัฒนาชิป 7 นาโนเมตรซึ่งน่าจะยังไม่สามารถปล่อยออกมาได้ก่อนปี 2566 โดยปัจจุบันยันใช้ชิป 10 และ 14 นาโนเมตรอยู่ แต่อย่างไรก็ดี ชิป Intel นั้นมีแนวโน้มที่จะมีความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์มากกว่าคู่แข่งในขนาดเดียวกัน

Source : https://www.engadget.com/ibm-2nm-chip-power-efficiency-100001102.html