[Guest Post] 5 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ “กล้อง CCTV” และ “Security Tech”สกาย ไอซีที เปิดโลกความล้ำหน้าเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย

0

ในช่วง 5 ปีให้หลังมานี้ ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV System) กลายเป็นที่นิยมแพร่หลายขึ้นอย่างมาก จากเดิมที่เป็นเทคโนโลยีสำหรับองค์กรเพื่อใช้ดูแลความปลอดภัยในอาคารขนาดใหญ่ กลายเป็นเทคโนโลยีที่ “ใกล้ตัว” ผู้บริโภคทั่วไปมากขึ้น จากทั้งเทคโนโลยีที่พัฒนาไปไกลจนมีราคาที่เข้าถึงได้ รวมถึงการนำความอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในกล้องวงจรปิด (AI CCTV) เข้ามาใช้ในบริบทที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่

ขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY ผู้นำด้านการพัฒนานวัตกรรม การให้บริการ Digital Platform และ AI Solutions ระดับประเทศ เล่าว่า ความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีกล้อง CCTV มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ไม่ใช่แค่รูปแบบและการติดตั้งตัวกล้องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนวัตกรรมที่นำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เทรนด์การใช้งาน คุณภาพของสินค้าในตลาด ที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง มี 5 เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับกล้อง CCTV ที่ผู้ใช้งานทั่วไปอาจยังไม่เคยทราบมาก่อน

1.ตลาดของกล้อง CCTV กำลังเติบโตอย่างมากในปัจจุบัน กล้อง CCTV ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์หลากหลายกลุ่มลูกค้า สามารถจำแนกตลาดผู้บริโภคคร่าวๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่ม Small IoT เป็นกลุ่มลูกค้าครัวเรือนที่กำลังเติบโตอย่างมากในปัจจุบัน เน้นฟังก์ชันด้านไลฟ์สไตล์ หาซื้อง่าย และติดตั้งได้ไม่ยาก มีราคาเพียงพันกว่าบาทขึ้นไป 2.กลุ่ม Home Use เป็นกลุ่มลูกค้าโครงการที่อยู่อาศัย เน้นคุณภาพของกล้องเป็นหลักและเริ่มมีการนำศูนย์สั่งการ (Security Operation Center หรือ SOC) เข้ามาช่วยควบคุมและดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ลูกบ้าน 3.กลุ่ม Business Use เป็นกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดกลาง เช่น อาคารสำนักงาน โรงงาน โรงพยาบาล รวมถึงโครงการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่และคอนโดมิเนียมที่ต้องการภาพคุณภาพสูง โดยจะติดตั้งกล้องประมาณ 64-200 ตัว 4.กลุ่ม Enterprise Use เป็นกลุ่มลูกค้าองค์กรหรือธุรกิจขนาดใหญ่ มักเป็นสถานที่ที่ต้องการใช้กล้องตั้งแต่ 200 ตัวขึ้นไป เช่น ศูนย์ราชการ ห้างสรรพสินค้า สนามบิน สนามกีฬา เน้นความปลอดภัยขั้นสูงสุดและคำนึงถึงระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

2.กล้อง CCTV ไม่ได้วัดคุณภาพกันแค่ความคมชัด 720p หรือ 1080p ผู้ผลิตมักใช้ตัวเลขที่ผู้บริโภคเปรียบเทียบได้ง่ายๆ มาเป็นกิมมิคทางการตลาด เช่น ความละเอียดกี่ล้านพิกเซล ความคมชัด 720p แต่ในความเป็นจริง คุณภาพของกล้อง CCTV ไม่ได้วัดกันแค่เรื่องดังกล่าว ยังมีเรื่องที่ต้องดูประกอบอีกหลายปัจจัย เช่น ความไวแสง ความสามารถต่อการทำงานในระดับอุณหภูมิ ความสามารถในเวลากลางคืน ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานกันน้ำกันฝุ่น (Ingress Protection Rating) ระยะภาพ ระยะเวลาประกัน ไปจนถึงบริการหลังการขาย ผู้ซื้อโดยเฉพาะกลุ่ม Business Use และ Enterprise Use อาจจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องเหล่านี้ประกอบ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบและสถานที่ที่ต้องการนำไปใช้งาน

3.กล้อง CCTV ก้าวหน้าจากยุค Passive สู่ยุค Active ด้วย AI ในอดีตกล้อง CCTV มักถูกใช้ในเชิงตั้งรับ (Passive) คือบันทึกวิดีโอเก็บไว้ก่อน จากนั้นค่อยนำมาใช้ดูภาพเหตุการณ์ย้อนหลัง แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ CCTV ถูกนำมาใช้ในเชิงรุก (Active) มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีการนำ AI มาช่วยประมวลผลที่หัวกล้อง ทำให้มีการนำกล้อง CCTV มาใช้งานแบบ Real-time เช่น การนำกล้อง AI CCTV ผนวกกับระบบ Alert-Alarm ให้ AI ช่วยวิเคราะห์วัตถุที่กล้องจับภาพได้ กรณีมีสัตว์หรือบุคคลไม่พึงประสงค์เข้ามาในบริเวณอาคาร ระบบจะแจ้งเตือนไปยัง SOC ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะเวลาที่ต้องมอนิเตอร์กล้องหลายตัวพร้อมกัน

4.กล้อง CCTV กำลังพัฒนาสู่การประยุกต์ใช้ในวงกว้าง ไม่ได้ถูกนำไปใช้แค่เรื่องความปลอดภัย การนำ AI ซึ่งมีความสามารถวิเคราะห์วัตถุในภาพที่ถ่ายได้ ทำให้การใช้งานกล้อง CCTV ขยายไปได้กว้างขึ้นนอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัย เช่น ในธุรกิจค้าปลีก มีการนำกล้อง AI CCTV มาใช้ทำเรื่องนับจำนวนคนในห้างสรรพสินค้า (People Counting) เพื่อให้ห้างทราบจำนวนคนที่เข้ามาใช้บริการในห้างแต่ละวัน และนำไปวางแผนบริหารจัดการสินค้าได้อย่างเหมาะสม ในต่างประเทศ มีการนำกล้อง AI CCTV มาช่วยเรื่องที่จอดรถอัจฉริยะ (Smart Parking) ผ่านเทคโนโลยีการอ่านและจดจำป้ายทะเบียน (License Plate Recognition) นอกจากจะใช้จดจำทะเบียนรถยนต์ที่เข้าร่วมงานเพื่อความปลอดภัยแล้ว ยังทำให้ทราบจำนวนรถยนต์ที่เข้ามาจอดรถในพื้นที่ เพื่อใช้บริหารจัดการในแต่ละช่วงเวลาด้วย

5.กล้อง CCTV กำลังกลายเป็น Trust Partner ด้านความปลอดภัย AI ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยขับเคลื่อนที่ทำให้กล้อง CCTV ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือ แต่กำลังกลายเป็น Trust Partner ด้านความปลอดภัยทั่วโลก เพราะการวิเคราะห์ของ AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านความปลอดภัย ลดภาระงาน และลดความผิดพลาดในการมอนิเตอร์ภาพจากกล้องพร้อมกันครั้งละจำนวนมาก สำหรับสกาย ไอซีที ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวางระบบกล้อง CCTV และนำ AI เข้ามาช่วยประมวลผลเพื่อให้สามารถตรวจจับวัตถุต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา AI, กล้อง CCTV และเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย (Security Tech) อื่นๆ มารวมกันเป็น Smart Security Platform เพื่อเป็น Trust Partner ในอาคารต่างๆ ให้แก่คนไทย คาดว่าจะเปิดตัวได้ในช่วงไตรมาส 4/2564 นี้

ขยล กล่าวเพิ่มเติมว่า 5 เรื่องข้างต้น ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราวในโลกของ “กล้อง CCTV” และ “Security Tech” เท่านั้น ในอนาคตคาดว่า เทคโนโลยีดังกล่าวจะยังมีเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อีกมาก จากเมกะเทรนด์เรื่อง Touchless ที่เร่งให้เทคโนโลยีทุกรูปแบบพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง

สำหรับ บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY เป็นบริษัท Tech Company เต็มรูปแบบที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม การให้บริการ Digital Platform และ AI Solutions ให้ลูกค้าอย่างครบวงจร เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะของ SKY ICT