[Guest Post] “Cloud ME” คือเทคโนโลยีที่ช่วยลดระยะห่าง และช่วยให้ผู้คนที่เข้าร่วมงานในโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ปักกิ่ง ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

0

โซลูชันที่ทำงานบนคลาวด์มอบประสบการณ์ในการสื่อสารระหว่างกันอย่างสมจริงเหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19

อาลีบาบา เปิดตัว “Cloud ME” นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทำงานบนคลาวด์ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ณ กรุงปักกิ่งในปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดเรื่องโควิดและระยะห่างของผู้คนที่อยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ  “Cloud ME” เป็นโซลูชันด้านการสื่อสารแบบเรียลไทม์ (real-time communication: RTC) ช่วยให้ผู้คนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น สามารถสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และได้สัมผัสประสบการณ์เสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริงด้วยกันระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ซึ่งช่วยให้ผู้คนพบปะและเพลิดเพลินกับการสนทนาแบบเรียลไทม์ผ่านการยิงภาพเท่าของจริงเหมือนอยู่ในสถานการณ์จริง

เมื่อผู้ร่วมงานก้าวเข้าไปยังป๊อป-อัพสตูดิโอในบูธของ Cloud ME ฟังก์ชันการฉายภาพจากระยะไกลที่ติดตั้งได้ง่าย จะยิงภาพเต็มตัวเท่าขนาดจริงของพวกเขาไปปรากฎในบูธอื่นที่อยู่ไกลออกไป และผู้เข้าร่วมงานนั้น ๆ ก็จะได้พบปะกับคู่สนทนาและทักทายกันเหมือนอยู่ในสถานที่เดียวกัน นอกจากนี้ฟังก์ชันนี้ยังช่วยให้สามารถจัดประชุมร่วมกับผู้คนที่อยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างไม่จำกัด

แดเนียล จาง ประธานและซีอีโอของอาลีบาบา กรุ๊ป กล่าวว่า “อาลีบาบามุ่งมั่นที่จะนำการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเข้าสู่โลกดิจิทัล และมอบโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสบการณ์ที่ครอบคลุมและมีส่วนร่วมมากขึ้น เราหวังว่าจะเชื่อมโยงนักกีฬาและแฟนกีฬาทั่วโลกไว้ด้วยกันผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ของเรา และช่วยให้สปิริตของโอลิมปิกเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนในเวลาที่เราสนุกสนานกับกีฬาประเภทต่าง ๆ ร่วมกัน”

โทมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) กล่าวว่า “เรากำลังสร้างประวัติศาสตร์ ณ กรุงปักกิ่งด้วยความร่วมมือกับอาลีบาบา ปีนี้เป็นครั้งแรกที่เทคโนโลยีหลักที่จำเป็นต้องใช้ใน

โอลิมปิคฤดูหนาวทำงานบนอาลีบาบา คลาวด์ เช่น เทคโนโลยีที่ช่วยเสริมศักยภาพให้กับโอลิมปิกออนไลน์สโตร์ในประเทศจีน, เทคโนโลยีในการแพร่ภาพและกระจายเสียง OBS คลาวด์ รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้รองรับสื่อจากทั่วโลกที่รวมตัวกันในกรุงปักกิ่ง นับว่าเทคโนโลยีของอาลีบาบา คลาวด์ กำลังสร้างมาตรฐานใหม่ และยกระดับมาตรฐานขึ้นอีกระดับ”


แดเนียล จาง ซึ่งอยู่ ณ Cloud ME studio ที่เซี่ยงไฮ้ (ซ้าย) และ โทมัส บาค ซึ่งอยู่ ณ close-loop ที่ปักกิ่ง (ขวา) กำลังประชุมร่วมกันแบบสมจริงและเป็นธรรมชาติที่ Beijing Media Center

บูธ Cloud ME สามารถติดตั้งได้อย่างง่ายดาย ด้วยอุปกรณ์สตูดิโอทั่วไป เช่น กล้องวิดีโอและคอมพิวเตอร์เพื่อจับภาพวิดีโอ โดยไม่จำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพิ่มเติมในพื้นที่ติดตั้ง และไม่ต้องทำการปรับแต่งอินเทอร์เน็ตแบนด์วิดท์ใหม่ให้เหมาะสมในการดำเนินการบันทึกและส่งข้อมูล ทั้งหมดนี้ล้วนใช้ขุมพลังของการประมวลผลแบบคลาวด์

วิดีโอและไฟล์เสียงที่สร้างขึ้นในบูธ Cloud ME จะถูกส่งต่อไปยังอาลีบาบา คลาวด์ ซึ่งเป็นธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป โซลูชันด้านการสื่อสารแบบเรียลไทม์ (RTC) ที่ได้รับการยอมรับแล้วนี้ ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังการประมวลผลบนระบบคลาวด์ประสิทธิภาพล้ำหน้าของอาลีบาบาที่ครอบคลุมเครือข่ายกว้างขวางทั่วโลก

กระบวนการดังกล่าวข้างต้นสามารถทำให้เสร็จได้ภายใน 200 milliseconds ด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ ของอาลีบาบา คลาวด์ ที่มีคุณสมบัติในการทำงานพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีความพร้อมใช้สูง และมีความหน่วงต่ำ บันทึกการแข่งขันสดสามารถยิงส่งไปยังจอภาพความละเอียดสูงระดับ 4K ที่อยู่ในระยะไกล สร้างภาพเอฟเฟกต์โฮโลแกรมที่เหมือนจริง สร้างรายละเอียดต่าง ๆ ใหม่ด้วยความละเอียดสูง เช่น จับรายละเอียดการแสดงออกทางสีหน้า และเสื้อผ้าที่สวมใส่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว

ลี่จวน เฉิน ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชัน อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “โซลูชันในการสื่อสารแบบเรียลไทม์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีคลาวด์มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้โลกสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาลีบาบา คลาวด์มีเครือข่ายคลาวด์ทั่วโลก และอัลกอริธึมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเราเอง ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นที่จะนำประโยชน์ของการสื่อสารแบบเรียลไทม์มาใช้ในสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเรียนออนไลน์ กิจกรรมด้านความบันเทิงที่สามารถโต้ตอบกันได้ การประชุมทางวิดีโอ และบริการต่าง ๆ ขององค์กรในอุตสาหกรรมอื่น ๆ

บูธ Cloud ME ของอาลีบาบา มีให้บริการทั้งในระบบการจัดการแบบปิดในงานโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2022 ที่กรุงปักกิ่ง และบริการให้กับผู้เข้าร่วมงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวจากภายนอก เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้รับประสบการณ์ที่น่าสนใจจากการสร้างปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่สมจริงนี้ การใช้ Cloud ME ครั้งแรกในงานโอลิมปิกครั้งนี้ ได้ใช้เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการประชุมทางไกลระหว่างแดเนียล จาง และ โทมัส มัค ซึ่งไม่สามารถเดินทางมาประชุมร่วมกันแบบพบปะกันตัวจริงกันได้ เนื่องจากข้อจำกัดของสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจีน