[Guest Post] 2565 จะเป็นปีแห่งนวัตกรรมด้านดิจิทัล

0

“เทคโนโลยีดิจิทัลจะยังคงขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยการปลดล็อคโอกาสให้พนักงานสามารถระดมสมองและทำงานร่วมกันจากระยะไกลได้ในปี 2565” กล่าวโดยคุณ Andrew McCloskey CTO แห่ง AVEVA

กลุ่มธุรกิจต่างอ้าแขนรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้เร็วกว่าที่เคยเป็นมา โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลัก 2 สิ่งคือ โคโรน่าไวรัสและความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่มีเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ปัจจัยแรกได้ช่วยเร่งให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพราะกลุ่มธุรกิจต้องมองหาวิธีที่จะทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่ และปัจจัยต่อมาก็กำลังหนุนให้กลุ่มธุรกิจก้าวไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน เช่น การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ เป็นต้น

งานวิจัยเผยว่า ธุรกิจ 85% ได้วางแผนลงทุนด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในปี 2565 และในอีกหลายปีถัดไปเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน พัฒนาความคล่องตัว และเพิ่มความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน โดยปลดล็อกประโยชน์ด้านประสิทธิภาพของระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบวิเคราะห์บิ้กดาต้าในช่วงเวลาที่เรียกว่า ยุคแห่งประสิทธิภาพ

อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถช่วยเราได้ในอีกหลายทาง โดยต้องเริ่มเปลี่ยนตั้งแต่ตอนนี้เพื่อพลิกโฉมวิธีการสร้างนวัตกรรม

Andrew McCloskey CTO แห่ง AVEVA

การเปลี่ยนสู่ดิจิทัลจะช่วยส่งเสริมนวัตกรรม

กลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญกับดิจิทัลเป็นลำดับแรก (Digital-first) จะสนับสนุนให้เกิดแนวคิดที่ครอบคลุมและหลากหลายซึ่งเอื้อให้กลุ่มคนที่แตกต่างกันเข้ามามีส่วนร่วมกันจำนวนมากขึ้น โดยทั้งหมดนี้จะช่วยผลักดันให้เกิดแนวคิดอีกมากมายและสร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งกว่าเดิม

หากพูดถึงแนวคิดเรื่องการรวมกลุ่มซึ่งมีแนวคิดมาจากกรอบคิดการพัฒนาระบบการสื่อสารภายในองค์กรให้รวดเร็วและสอดคล้องกัน (Agile development) นั่นก็คือ เวลาที่สมาชิกในทีมที่มีปัญหา จะสามารถยกมือขอความช่วยเหลือจากกลุ่มเพื่อการระดมสมอง ทุกคนจะหยุดสิ่งที่กำลังทำอยู่แล้วหันมาขบคิดเกี่ยวกับปัญหาจากหลากหลายมุมมองจนกว่าจะได้วิธีแก้ไข

เครื่องมือในการทำงานร่วมกันช่วยให้กลุ่มต่าง ๆ เข้าสู่โลกแห่งดิจิทัล โดยสามารถยกมือขึ้น “ได้เสมือนจริง”เมื่อต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานโดยขจัดปัญหาคอขวดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังใช้ความรู้และประสบการณ์ของพนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะทำงานอยู่ที่ใดก็ตาม

อีกแนวทางหนึ่งอันน่าสนใจที่จะช่วยสร้างให้เกิดการระดมสมองก็คือ Hackathons ซึ่งเป็นการแข่งขันที่กระตุ้นให้เกิดความคิดอันเป็นนวัตกรรม

แม้อาจมีคนมองว่ากิจกรรม Hackathon เป็นกิจกรรมทางกายภาพที่จัดขึ้นสำหรับทีมเทคนิคโดยเฉพาะ แต่จริง ๆ แล้วตัวกิจกรรมยังทำอะไรได้มากกว่านั้นอีก เครื่องมือดิจิทัลในปัจจุบันจะช่วยให้คุณแสดงพลังทางความคิดไปยังพื้นที่ออนไลน์และยังช่วยให้จัดกิจกรรมขึ้นในวงกว้างได้ซึ่งจะช่วยรวมพนักงานจากทุกประเทศที่ธุรกิจดำเนินการอยู่ ส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์แนวคิดที่หลากหลายยิ่งขึ้น

Hackathon เป็นกิจกรรมที่สนุกมาก และเปิดพื้นที่ให้พนักงานได้ลองทำสิ่งแปลกใหม่หรือขบคิดเกี่ยวกับโครงการที่พวกเขาอยากทำจริง ๆ เป็นโอกาสที่พนักงานจะหลีกหนีจากงานประจำ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ได้ค้นพบศักยภาพใหม่ ๆ ในทิศทางที่ต่างออกไป

มากกว่านั้นกิจกรรมนี้นอกจากจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจและกับลูกค้าอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ยังเป็นเวทีที่ดีที่ให้ความสำคัญกับพนักงานอีกด้วย ไม่เพียงแต่กิจกรรมจะแสดงให้เห็นถึงความฉลาดในตัวพนักงาน แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังได้ประโยชน์ทั้งคู่ โดยผู้ชนะได้รางวัลกลับบ้านและบริษัทก็ได้รับแนวคิดใหม่ ๆ ที่สามารถนำออกสู่ตลาดได้จริง ๆ ไปพร้อมกัน

ปรับให้กระบวนการสร้างนวัตกรรมสั้นลง

องค์กรยังสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยการใช้ดิจิทัลเร่งให้วงจรสั้นลง

แต่ก่อนบริษัทต่างพบปะลูกค้าเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวคิด จากนั้นกลับไปทำโครงการให้เสร็จก่อนที่จะนำเสนอให้กับลูกค้าในสัปดาห์หรือหลายเดือนต่อมา ซึ่งทำให้พัฒนานวัตกรรมไปได้ช้ามากเนื่องจากไม่มีเวลาให้พิจารณาถึงแนวคิดต่าง ๆ ได้อย่างถี่ถ้วน

ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้อย่างสูงสุดคือองค์กรที่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และดำเนินการใน Feedback Cycle หรือวงจรสะท้อนกลับไปได้เรื่อย ๆ  สิ่งสำคัญก็คือต้องนำเสนอให้ลูกค้าเห็นภาพโดยเร็วที่สุดเพื่อเริ่มกระบวนการตอบสนอง การปรับเปลี่ยน และการปรับแก้ ดังนั้นเครื่องมือดิจิทัลนั้นจึงเป็นเครื่องมืออันยอดเยี่ยมที่ช่วยให้ช่องทางการสื่อสารเปิดกว้างและส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลสามารถทำได้ทุกอย่างตั้งแต่การตรวจงานในสถานที่เสมือนจริงไปจนถึงการสาธิตบนคลาวด์ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในวงจรสะท้อนกลับและทำให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เร็วยิ่งขึ้น โดยไม่เพียงแต่จะส่งผลให้โครงการต่าง ๆ เสร็จเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังเอื้อให้เกิดการพัฒนาและก้าวหน้า เนื่องจากความคิดที่เกี่ยวข้องกับโครงการสามารถไหลไปได้อย่างต่อเนื่อง

ไอเดียง่าย ที่สร้างสรรค์สิ่งใหญ่

ช่วงเวลา ‘ไอเดียบรรเจิด’ มักถูกจุดประกายด้วยการคุยเล่นกันหรือการเจอเพื่อนร่วมงานโดยบังเอิญ แต่โอกาสที่จะเกิดสิ่งที่กล่าวมานี้ก็น้อยลงเพราะเกิดการแพร่ระบาดและทุกคนต้องทำงานห่างไกลกัน หรือแม้ว่าตอนนี้ก็อาจจะมีการทำงานแบบไฮบริดอยู่บ้างก็ตาม

แม้ว่าการจำลองช่วงเวลา ‘พบปะคุยเล่น’ เสมือนจริงทางออนไลน์นั้นดูเหมือนจะทำได้ยากและยังห่างไกลจากความเป็นจริงนัก แต่หลายบริษัท รวมถึงบริษัทของเราด้วยก็กำลังส่งเสริมให้พนักงานเริ่มการสนทนา ‘เสมือนพบปะกันในออฟฟิศ’ สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการที่ง่ายแต่มีประสิทธิภาพซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มกลับเข้ามาในองค์กรในขณะที่มีการทำงานระยะไกลและการทำงานแบบไฮบริดเพิ่มขึ้น

เพียงแค่ “แวะเข้ามา” พบเพื่อนร่วมงานด้วยการประชุมผ่านวิดีโอ (แบบไม่ได้นัดหมาย) พนักงานก็สามารถเข้ามาพบปะพูดคุยได้แบบไม่เป็นทางการได้เรื่อย ๆ ใครจะรู้ว่าอาจจะมีไอเดียที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นในที่นั้นก็ได้

จุดประกายนวัตกรรมด้วยการเปลี่ยนเข้าสู่ดิจิทัล

การเติบโตของนวัตกรรมดิจิทัลอาจมาจากการแพร่ระบาด แต่ประโยชน์ที่กลุ่มธุรกิจได้รับจะคงอยู่ต่อไป

การระบาดครั้งนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าการทำงานระยะไกลสามารถเกิดขึ้นได้ในวงกว้าง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนเข้าสู่ดิจิทัลสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เบ่งบานไปทั่วได้อย่างไร ในระหว่างที่เกิดการระบาด แค่ที่บริษัท AVEVA เพียงแห่งเดียว นวัตกรรมด้านดิจิทัลยังส่งผลให้เกิดแนวคิดกว่า 600 รายการจากกิจกรรม Hackathon ทั่วโลก และยื่นจดสิทธิบัตรไปถึง 20 รายการ รวมทั้งเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไปแล้วอีกหลายรายการ

การเปลี่ยนเข้าสู่ดิจิทัลจะทำให้เกิดความครอบคลุมและความหลากหลายซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม และในยุคที่พนักงานสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้นี้ การผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบใหม่ดูเหมือนจะช่วยปลดล็อคโอกาสใหม่ ๆ อีกมากมายในการทำงานร่วมกันและการรังสรรค์นวัตกรรมแปลกใหม่ เรารอแทบไม่ไหวแล้วที่จะได้เห็นไอเดียเด็ดสดใหม่จากพนักงานของคุณ !