[Guest Post] พนักงานหนึ่งในสาม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะหางานใหม่หากพวกเขาถูกบังคับให้กลับเข้ามาทำงานในออฟฟิศแบบเต็มเวลา

0

เมื่อองค์กรนำรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดมาใช้จำเป็นอย่างมากที่ต้องจัดลำดับความสำคัญให้กับความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาวและประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี

เนื่องจากองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคกำลังดำเนินการพิจารณา นำมาใช้ และปรับใช้การทำงานแบบไฮบริด การวิจัยใหม่จาก Qualtrics ได้แสดงว่าหนึ่งในสามของพนักงาน (34 เปอร์เซ็นต์) อาจมองหางานใหม่ หากพวกเขาถูกบังคับให้กลับเข้าไปทำงานในออฟฟิศแบบเต็มเวลา ในปัจจุบันรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดกลายเป็นวิธีทำงานที่ได้รับความชื่นชอบอย่างชัดเจนในภูมิภาคนี้ การจัดเวลาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่พนักงานคือทำงานระยะไกลสามวัน / ทำงานในออฟฟิศสองวัน 

ในเวลานี้ นายจ้างท้องถิ่นกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวิธีการทำงานแบบดั้งเดิม ผลการค้นพบจากรายงาน แนวโน้มประสบการณ์พนักงานปี 2022 ของ Qualtrics  ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนที่สำคัญเกี่ยวกับความต้องการที่สอดคล้องกับประสบการณ์พนักงาน พร้อมด้วยความคาดหวังของผู้คนเพื่อช่วยให้องค์กรดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถในตลาดงานที่มีการแข่งขันสูงไว้

หนึ่งในความท้าทายที่เร่งด่วนมากที่สุดสำหรับนายจ้างในการเปลี่ยนไปสู่การทำงานแบบไฮบริดคือการจัดลำดับความสำคัญ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาวของพนักงานและการตั้งแนวทางที่ชัดเจนสำหรับวิธีการทำงาน ถึงแม้ว่าบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีรายงานระดับคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีในระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับทั่วโลก แต่ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของพนักงานตลอด 12 เดือนที่ผ่านมานี้มีระดับลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่เผชิญปัญหาการลดลงถึง 12 เปอร์เซ็นต์ในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระดับความเป็นอยู่ที่ดีในปัจจุบันนั้นไม่มีความยั่งยืน เว้นแต่พนักงานจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับการพัฒนา เพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภายในทีมของพวกเขา

การพัฒนาประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีสำหรับพนักงานในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดควรได้รับการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ในปี 2022 ผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่กล่าวว่าเทคโนโลยีที่จัดหาให้พวกเขาใช้งานนั้นตรงกับความคาดหวังของพวกเขา โดยในสิงคโปร์มีตัวเลขต่ำสุดที่ 24 เปอร์เซ็นต์ การลงทุนเพื่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในสถานที่ทำงานแบบไฮบริดจะให้ผลดีในหลายๆ ด้าน นอกเหนือกจากการช่วยขับเคลื่อนด้านผลิตภาพแล้ว ผลการวิจัยของ Qualtrics ยังได้แสดงว่าพนักงานผู้ซึ่งมีความพึงพอใจกับเทคโนโลยีที่มีอยู่นั้น มีแน้วโน้มที่จะมีส่วนร่วมกับที่ทำงานมากขึ้นถึงสี่เท่า

ถึงแม้ว่าพนักงานมีความตั้งใจที่จะอยู่ทำงานต่อสูงมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก ในประเทศส่วนใหญ่ตัวเลขของพนักงานที่วางแผนจะอยู่ทำงานต่อกับนายจ้างปัจจุบันได้ลดลงในปีนี้ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าพนักงาน 7 ใน 10 ในไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์จะยังคงทำงานเดิมอยู่ในปีนี้ เทียบกับ 53 เปอร์เซ็นต์ในสิงคโปร์

สำหรับนายจ้างที่ต้องการเพิ่มการรักษาพนักงานในตลาดงานที่มีการแข่งขันสูง การสร้างวัฒนธรรมการเป็นเจ้าของร่วมได้ถูกระบุว่าเป็นแรงผลักดันหลักของความตั้งใจที่จะอยู่ทำงานต่อ การสร้างความมั่นใจเพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายในอาชีพการทำงานของพวกเขาได้ การจัดลำดับความสำคัญให้กับความเป็นอยู่ที่ดี และการปรับแนวทางส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของบริษัทได้ถูกพูดถึงเช่นกัน

การวิจัยของ Qualtrics ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการรับฟัง การทำความเข้าใจ และตอบสนองกับความคิดเห็นของพนักงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าตรงตามความต้องการของพนักงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเปลี่ยนแปลง ด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์พนักงานโดยรวมได้ดีขึ้นและสม่ำเสมอมากขึ้น ตั้งแต่เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อเป็นแรงผลักดันในการรักษาพนักงาน องค์กรจะสามารถออกแบบข้อเสนอใหม่และข้อเสนอที่ได้รับการปรับปรุงแล้วได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจซึ่งสอดคล้องกับประสบการณ์พนักงานที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป

“เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการทำงานแบบไฮบริดได้อย่างประสบความสำเร็จ และสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจต่างๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องรับแนวคิดใหม่มาปรับใช้ รวมถึงกำหนดและเน้นย้ำวิถีการทำงานของพวกเขา ดังที่ได้เห็นในการวิจัยของ Qualtrics การจัดการกับความ ท้าทายที่ได้เผชิญอยู่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายดายเหมือนการจัดตารางการทำงานใหม่หรือการเพิ่มการมีส่วนร่วมเลย ผู้คนมีความต้องการในสภาพแวดล้อมการทำงานปัจจุบันที่แตกต่างกัน นั่นหมายถึงความสามารถในการระบุและตอบสนองกับปัญหาที่ส่งผลกระทบมากที่สุดได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ด้วยเครื่องมือของ Qualtrics จะช่วยสร้างความได้เปรียบที่สำคัญได้” กล่าวโดย Lauren Huntington นักกลยุทธ์โซลูชั่นประสบการณ์พนักงานของ Qualtrics ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

เกี่ยวกับการศึกษานี้

การศึกษาของ Qualtrics ได้ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคมและธันวาคม ปี 2021 และมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามจำนวน 5,045 คน ซึ่งเป็นพนักงานประจำที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจากหลากหลายอุตสาหกรรมในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย

อ่านรายงานแนวโน้มประสบการณ์พนักงานปี 2022 ของ Qualtrics ฉบับเต็มได้ที่นี่

เกี่ยวกับ Qualtrics

Qualtrics เป็นผู้นำและผู้สร้างสรรค์ด้าน Experience Management (XM) ซึ่งกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีที่องค์การต่างๆ ใช้เพื่อจัดการและยกระดับ 4 ประสบการณ์หลักของธุรกิจ ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน ผลิตภัณฑ์ และแบรนด์ องค์กรทั่วโลกมากกว่า 16,750 แห่งใช้ Qualtrics เพื่อรับฟัง ทำความเข้าใจ และใช้ข้อมูลประสบการณ์ (X-data™) ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ อารมณ์ และเจตนาที่จะบอกคุณว่าเหตุใดสิ่งต่างๆ เหล่านั้นจึงเกิดขึ้น และต้องทำอะไรบ้างกับสิ่งเหล่านั้น Qualtrics XM Platform™ คือระบบที่ช่วยให้ธุรกิจดึงดูดลูกค้าไว้ได้นานมากขึ้นและใช้จ่ายมากขึ้น ให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยมตรงใจผู้บริโภค และสร้างแบรนด์ที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค เรียนรู้เพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชม qualtrics.com