4 ปัจจัยสร้างสตาร์ตอัปให้มีความยั่งยืน

0

Amazon Web Services (AWS) มุ่งมั่นสนับสนุนธุรกิจสตาร์ตอัปในประเทศไทยด้วยการใช้คลาวด์และเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและสร้างความยั่งยืนของธุรกิจและสิ่งแวดล้อม 

ในงานเสวนาหัวข้อ “Building sustainability startups in the cloud” คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager แห่ง AWS ประจำประเทศไทย ได้แนะนำ 4 ปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัปสู่ความยั่งยืน และร่วมพูดคุยกับสองสตาร์ตอัปสัญชาติไทย ได้แก่ คุณศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งแอปพลิชันมูฟมี (MuvMi) ที่ให้บริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเดินทางเฉพาะพื้นที่ผ่านระบบ Ride Sharing ทางเดียวกันไปด้วยกัน และคุณกฤษฎา ตั้งกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งเอ็นเรส (ENRES) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน IoT ในการประหยัดพลังงานทางเลือกใหม่ของอาคารและโรงงานขนาดใหญ่ด้วยเทคโนโลยี AI

คุณวัตสัน เผยว่า ความยั่งยืน (Sustainability) เป็นกระแสหลักที่หลาย ๆ ประเทศต่างหันมาลงทุน และสตาร์ตอัปในประเทศไทยเองก็มีความคิดริเริ่มลงทุนเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนด้วยเช่นกัน ซึ่งไทยตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 30% ของการผลิตรถยนต์ในไทยภายในปี 2030 และส่งเสริมการผลิตและการใช้ EV ด้วยการตั้งประเทศไทยเป็นฐานการผลิต EV 100% ภายในปี 2035 นอกจากนี้ รัฐบาลได้ประกาศในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศ COP26 ที่ประเทศอังกฤษในปีที่ผ่านมา ว่าจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางของคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065

จากผลการศึกษาล่าสุดของ Accenture พบว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) และความยั่งยืน (Sustainability) หรือที่เรียกว่า Twin Transformers จะเป็นธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานแข็งแกร่งที่สุด มีโอกาสประสบความสำเร็จและเติบโตได้มากกว่าคู่แข่งได้ถึง 2.5 เท่า

ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 15 ปี ในการสนับสนุนสตาร์ตอัปตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนขยายธุรกิจ AWS เล็งเห็นถึงความสำคัญในการหนุนสตาร์ตอัปสู่ความยั่งยืน จึงได้แนะนำ 4 เรื่องที่ต้องคำนึงถึงเพื่อจุดประกายต่อยอดแก่สตาร์ตอัปและตอบโจทย์การเป็น Twin Transformers ดังนี้

1. โซลูชันสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาอะไร?

ไม่มีสตาร์ตอัปใดที่สามารถแก้ปัญหาด้านความยั่งยืนได้ทั้งหมด สตาร์ตอัปจึงต้องให้ความสำคัญกับการวางเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อสร้างโซลูชันในรูปแบบ MVP (Minimum Viable Product) ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้จริง และในขณะที่เรากำลังแก้ปัญหานั้น ๆ เราได้สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาหรือไม่ ที่ AWS เรามีความเชี่ยวชาญและข้อมูลที่ช่วยให้คำปรึกษาแก่สตาร์ตอัปในการพัฒนาโซลูชันต่าง ๆ และมีระบบนิเวศ รวมถึงพาร์ตเนอร์ที่ช่วยให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้นก่อนการสร้างโซลูชันจริง

2. จะเริ่มสร้างบริการหรือโซลูชันต้นแบบขึ้นมาจากจุดไหน?

AWS มองว่า คลาวด์เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับสตาร์ตอัป และมีประสิทธิภาพในการใช้งานควบคู่ไปกับการประหยัดพลังงานที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้เซิร์ฟเวอร์แบบ On-premises อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 78%

AWS มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด กล่าวคือ ความยั่งยืนเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง AWS และลูกค้า โดย AWS มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของความยั่งยืนของระบบคลาวด์ (sustainability of the cloud) หรือศูนย์ข้อมูลของ AWS โดยเฉพาะการใช้พลังงานหมุนเวียน การจัดการน้ำและของเสีย และในทางกลับกัน ลูกค้ามีหน้าที่รับผิดชอบต่อความยั่งยืนในระบบคลาวด์ (Sustainability in the Cloud) ซึ่งลูกค้าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพรูปแบบการใช้ข้อมูล การออกแบบซอฟต์แวร์ การปรับใช้ และกลไกการปรับขนาดเพื่อความยั่งยืน และมีหน้าที่รับผิดชอบในการคำนึงถึงการใช้งานที่มาพร้อมกับการลดผลกระทบ

3. ทำอย่างไรให้โซลูชันมีความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง?

ความยั่งยืนอาจต้องแลกมากับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ควบคุมได้ด้วย AWS Well-Architected Sustainability ที่ช่วยให้สตาร์ตอัปใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างสถาปัตยกรรมที่มีแนวคิดด้านความยั่งยืนอย่างรอบด้าน 

ทั้งนี้ AWS มีบริการที่เรียกว่า Well-Architected Review ซึ่งช่วยให้ลูกค้ามั่นใจว่าได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนระบบคลาวด์ โดยทีมงานของ AWS จะช่วยลดจำนวนเงินที่ลูกค้าใช้ไปกับบริการต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสตาร์ตอัปใช้จ่ายเฉพาะกับบริการที่จำเป็น ใช้บริการเวอร์ชันล่าสุดและเหมาะสมมากที่สุด

AWS ยังมีเครื่องมือสำหรับลูกค้าที่จะช่วยให้เข้าใจปริมาณ Carbon footprint ของปริมาณงานที่อยู่บน AWS (AWS Customer Carbon Foot Print Tool) และวัดกับการเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ผ่าน Well-Architected เพื่อความยั่งยืน และทราบถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการของ AWS เพื่อช่วยลูกค้าในการทำรายงานของตนเอง รวมไปถึงว่าองค์กรมีส่วนช่วยลดโลกร้อนได้มากน้อยแค่ไหน

4. ใครสามารถช่วยสตาร์ตอัปให้ไปถึงเป้าหมายได้?

AWS มีทั้งชุมชนของคู่ค้าและลูกค้าที่มุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ประสบความสำเร็จ รวมไปถึง AWS Activate ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับสตาร์ตอัปในระยะเริ่มต้น ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้สตาร์ตอัปสามารถเริ่มต้นบน AWS ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย นอกจากนี้ AWS เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง The Climate Pledge และให้สัตยาบัน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนสตาร์ตอัปทั่วโลกในการพัฒนาเทคโนโลยีและบริการต่าง ๆ ที่ช่วยเรื่องความยั่งยืนและลดคาร์บอน ซึ่งนับตั้งแต่การเปิดตัวของ The Climate Pledge ในปี 2020 Amazon ได้มีการลงทุนในบริษัทระดับโลกมากมายแล้ว

คุณศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งแอปพลิชันมูฟมี (MuvMi) ผู้ให้บริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเดินทางเฉพาะพื้นที่ผ่านระบบ Ride Sharing เผยถึงแนวคิดการเริ่มสร้าง MuvMi โดยเริ่มจากความคิดที่ต้องการแก้ปัญหารถติด แต่ไม่อยากสร้างมลภาวะ จึงได้นำรถตุ๊กตุ๊ก EV ที่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในระบบขนส่งสาธารณะ

ในปี 2018 ความท้าทายในช่วงเวลานั้นคือ เทรนด์เรื่องรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่เป็นที่นิยมมากนักทำให้ต้นทุนสูงมาก แต่สิ่งที่ MuvMi คิดคือ ต้องคิดให้รอบด้านว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรและจะเติบโตต่อไปโดยไม่เพิ่มปัญหาได้อย่างไร โดยอาศัย Data ในการผลักดันและประกอบการตัดสินใจ ปรับตัวให้ไว เพิ่มประสิทธิภาพของบริการอยู่เสมอ และสามารถสร้างผลกำไรในองค์กร โดยคุณศุภพงษ์ มองว่า พาร์ตเนอร์มากมายที่เข้ามาทำโครงการต่าง ๆ ร่วมกันเล็งเห็นว่าธุรกิจ MuvMi คืออนาคต สามารถลดคาร์บอนไปกว่า 500 ตันด้วยรถ 200 กว่าคันที่มีอยู่ และการเติบโตของ MuvMi เป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ส่วนใหญ่ รวมไปถึงภาครัฐและเอกชนเองก็เริ่มเห็นว่าการดำเนินธุรกิจที่ส่งเสริมความยั่งยืนนั้นสามารถสร้างผลกำไรไปพร้อม ๆ กันได้

คุณกฤษฎา ตั้งกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งเอ็นเรส (ENRES) เป็นอีกหนึ่งสตาร์ตอัปเพื่อความยั่งยืนที่พัฒนาอยู่บน AWS โดยใช้เทคโนโลยี AWS IoT Core ในการพัฒนาโซลูชันเพื่อประหยัดพลังงานและเพิ่มการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่อาคารและโรงงานขนาดใหญ่ด้วยเทคโนโลยี AI ซึ่งเป้าหมายของ ENRES คือการเอาเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการอาคารและโรงงานที่มีกว่า 100,000 แห่งทั่วประเทศ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมไทย 

ในช่วงแรก บริการของ ENRES ถูกใช้โดยโรงพยาบาลและโรงแรมเป็นหลัก เนื่องจากอาคารเหล่านี้เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น การลดการใช้พลังงานจึงมีความสำคัญและมีโอกาสลดได้มาก ระบบปรับอากาศของโรงพยาบาลใช้ไฟฟ้าได้ 40-70% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด และทำให้เกิดของเสียได้มาก นอกจากนี้ อาคารเหล่านี้ใช้ไฟฟ้าถึงประมาณ 60% ของไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศ เมื่อเทียบกับที่อยู่อาศัยทั่วไปที่ใช้ไฟฟ้าเพียง 20% 

ENRES เห็นเป้าหมายในการลดพลังงานทั้งจากทางภาครัฐและเอกชน ที่จะมีความเป็นกลางของคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 ซึ่ง ENRES มองว่านักลงทุนจะให้ความสำคัญกับธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้นเรื่อย ๆ และคาดหวังว่าธุรกิจที่พวกเขาลงทุนนั้นมีแผนที่จะมุ่งไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต ซึ่ง ENRES มั่นใจว่ามีความต้องการแนวทางด้านความยั่งยืนจากลูกค้าเพิ่มขึ้นเช่นกัน และวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีของบริษัทไปใช้กับอาคารต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 60 แห่งในปีนี้ ซึ่ง ENRES ขยายฐานลูกค้าที่กำลังมองหาวิธีที่จะสนับสนุนความเป็นกลางของคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย

คุณวัตสัน กล่าวปิดท้ายว่า “AWS ขอเป็นแรงเสริมและแรงส่งในการผลักดันสตาร์ตอัปไทยให้เติบโตและประสบความสำเร็จเป็นยูนิคอร์น เพื่อร่วมกันสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างยั่งยืนให้แก่ผู้คนและสิ่งแวดล้อม”