เอ็นทีที (NTT Ltd.,) บริษัทผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและบริการไอทีชั้นนำระดับโลก เปิดเผยรายงานผลการศึกษาด้านเครือข่ายทั่วโลกประจำปี 2565 หรือ 2022 Global Network Report พบว่าซีอีโอกว่า 70% เชื่อว่าระดับความสมบูรณ์ของเน็ตเวิร์กที่ใช้อยู่นั้นส่งผลกระทบในทางลบต่อการส่งมอบทางธุรกิจหรือ business delivery โดยมองว่าภาวะที่สภาพแวดล้อมการทำงานถูกปรับเป็นแบบไฮบริด และกระจายตัวบนอุปกรณ์ซึ่งต้องเชื่อมต่อกันหลายเครื่องนั้น กำลังขยายตัวจนครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ซึ่งแม้จะพยายามทุ่มเงินลงทุนไปแล้ว แต่มีธุรกิจเพียง 2 ใน 5 เท่านั้นที่มองว่ามีความพอใจสูงกับขีดความสามารถของเน็ตเวิร์กที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน สถิตินี้สะท้อนถึงการเกิดขึ้นของศักราชใหม่แห่งการปรับเครือข่ายให้ทันสมัย (ผู้บริหารมากกว่า 90% เชื่อว่ามีผลอย่างมากต่อการส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโต) และการสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AIOps (มากกว่า 91%)
สภาพแวดล้อมไฮบริดต้องปลอดภัย
การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมเครือข่ายในปัจจุบัน เนื่องจากรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดที่กระจายศูนย์นั้นมีโอกาสถูกผู้ไม่ประสงค์ดีโจมตีมากขึ้น ปรากฏการณ์นี้เป็นแรงผลักดันให้องค์กรต่างๆเริ่มปรับรูปแบบการทำงานให้รวมศูนย์มากขึ้น พร้อมกับเปลี่ยนไปใช้โซลูชันการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ รวมถึงเปิดใช้บริการจัดการระบบรักษาความปลอดภัยที่ปลายทางหรือ managed endpoint security model ตลอดจนตัดสินใจเพิ่มการลงทุนให้เครือข่ายมีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เข้มข้นขึ้น โดยผู้นำธุรกิจส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าภัยคุกคามใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นั้นจะเป็นแรงดันให้องค์กรต้องการเครือข่ายที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ทำให้ต้องมีการควบคุมและการตรวจสอบการเข้าถึงเน็ตเวิร์กในระดับที่ลึกยิ่งขึ้น (93%)
การยกระดับเน็ตเวิร์ก สู่รูปแบบบริการ
การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมเครือข่ายในปัจจุบัน เนื่องจากรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดที่กระจายศูนย์ นั้นมีโอกาสถูกผู้ไม่ประสงค์ดีโจมตีมากขึ้น ปรากฏการณ์นี้เป็นแรงผลักดันให้องค์กรต่างๆ เริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานไปใช้โซลูชันการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ที่รวมศูนย์มากขึ้น ควบคู่ไปกับบริการจัดการระบบรักษาความปลอดภัยที่ปลายทางหรือ managed endpoint security ตลอดจนตัดสินใจเพิ่มการลงทุนให้เครือข่ายมีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เข้มข้นขึ้น โดยผู้นำธุรกิจส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าภัยคุกคามใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นั้นจะเป็นแรงผลักดันให้องค์กรต้องการเครือข่ายที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ทำให้ต้องมีการควบคุมและการตรวจสอบการเข้าถึงเน็ตเวิร์กในระดับที่ลึกยิ่งขึ้น (93%)
รายงานล่าสุดพบว่าหากไม่คำนึงถึงต้นทุน กลุ่มตัวอย่างจะมองข้อกังวลสูงสุดที่ความปลอดภัย ความทันสมัย และการเข้าถึงบริการได้เต็มรูปแบบจากผู้ให้บริการ โดยหากพิจารณาในแง่ของการจัดการเครือข่าย พบว่าผู้บริหารระดับสูงมากกว่า 90% ตัดสินใจเลือกเครือข่ายที่อยู่ในรูปแบบบริการ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบมากเรื่องความยืดหยุ่นในการปรับเพิ่มหรือลดขนาด นอกจากนี้ ความซับซ้อนในการปรับใช้ AIOps และโซลูชันระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ ยังมีส่วนทำให้โมเดลบริการเน็ตเวิร์กมีความน่าสนใจมากขึ้น เพราะ AIOps นั้นช่วยให้เน็ตเวิร์กดำเนินงานต่อเนื่องได้ง่ายขึ้น แต่มีความซับซ้อนในการกำหนดค่าในขั้นต้น
อามิต ธิงรา (Amit Dhingra) รองประธานบริหาร ฝ่ายบริการเครือข่าย บริษัท NTT Ltd. กล่าวว่า “ระดับของการลงทุนในเครือข่ายได้ขยับตัวสูงขึ้น พร้อมกับผลการวิจัยนี้ที่แสดงให้เห็นว่า หลายองค์กรต่างหันไปหาพันธมิตรและโซลูชั่นบริการแมเนจเซอร์วิส เพื่อให้ได้บริการตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยมีจุดประสงค์หลักในการเพิ่มความปลอดภัยและเข้าถึงทักษะที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรได้ ทั้งในแง่ความสามารถและการเร่งพัฒนานวัตกรรม”
คุณอสมิต กล่าวสรุปว่า “แม้เราทุกคนจะกำลังอยู่ท่ามกลางยุคแห่งความทันสมัยของบริการเครือข่าย แต่โซลูชันจำนวนมากที่ยังไม่ถูกใช้งานแพร่หลาย อาจจะกลายเป็นมาตรฐานขึ้นมาภายในเวลาเพียง 2 ปีก็ได้ ดังนั้น องค์กรจึงควรหันมาพัฒนาเครือข่ายในรูปแบบบริการแทน โดยหากต้องเลือกผู้ให้บริการเครือข่ายสักราย ธุรกิจควรพิจารณาถึงความปลอดภัย, ทักษะความสามารถ, ความยืดหยุ่นในการปรับเพิ่มหรือลดขนาด, การรองรับ Private 5G และการมีเครือข่ายที่จัดการได้ด้วยซอฟต์แวร์ ซึ่งในระยะยาว เทคโนโลยีอย่างบล็อกเชน (blockchain), ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติอื่น, เทคโนโลยี AR และ VR, เครือข่ายควอนตัม, เทคโนโลยี 6G และการประมวลผลแบบโฟโตนิก (photonic computing) ล้วนมีผลต่อการทำงานของเครือข่ายในอนาคต”
คริส บาร์นาร์ด (Chris Barnard) รองประธานบริษัทไอดีซีหรือ International Data Corporation ให้ความเห็นว่า “การทำงานวิถีใหม่ได้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ทำให้องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงตระหนักถึงคุณค่าของการลงทุนในเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ เช่น เครือข่ายหลักขององค์กร, เทคโนโลยี 5G, เอดจ์ (edge) และปัญญาประดิษฐ์ ดังนั้นองค์กรต่างๆจึงมุ่งปรับปรุงเครือข่ายองค์กรของตนให้ทันสมัย ซึ่งช่วยให้สามารถใช้งานและจัดการเครือข่ายที่สนับสนุนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการจากบริการและแอปพลิเคชันดิจิทัลเกิดใหม่ได้ดีขึ้น โดย สถานประกอบการที่ไม่ได้ลงทุน อาจต้องอยู่ในภาวะเสี่ยงได้รับผลกระทบต่อโอกาสในการเติบโต และเนื่องจากเครือข่ายมีบทบาทเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล หรือการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชัน รวมถึงการทำงานและการประมวลผลแบบกระจาย ไอดีซีจึงประเมินว่าจะได้เห็นการอัปเกรดเครือข่ายขององค์กรมากขึ้น ให้สามารถรองรับเทคโนโลยี เช่น AI และระบบการป้องกันความปลอดภัยที่ได้ถูกนำไปใช้กับเน็ตเวิร์กองค์กรอย่างแพร่หลายในระดับเมนสตรีมแล้ว ซึ่งแม้ว่าจะดูซับซ้อน แต่ผู้ให้บริการเช่น NTT ก็สามารถพัฒนาทางเลือกที่ปรับใช้ได้ยืดหยุ่น ซึ่งสามารถขับเคลื่อนมูลค่าทางธุรกิจได้”
ในภาพรวม รายงานนี้ได้สรุปข้อพิจารณารวม 7 ประการสำหรับผู้บริหาร เพื่อการพัฒนาและป้องกันเครือข่ายขององค์กรในอนาคต ผู้สนใจสามารถอ่านรายงาน 2022 Global Network Report ฉบับเต็มได้ที่นี่
นอกจากการเปิดตัวรายงานฉบับใหม่ บริษัท NTT จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเวอร์ชวลซัมมิท APAC iNTTerconnected ในหัวข้อ “Enable the connected future through smarter networks” หรือ “เปิดทางสู่อนาคตแห่งการเชื่อมต่อ ผ่านเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดกว่า” ในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เวลา 12:00-13:30 น. ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลสำรวจที่สำคัญของรายงานนี้ พร้อมกับทำความเข้าใจสาเหตุที่สถาปัตยกรรมเครือข่ายมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร รวมถึงวิธีที่ผู้นำองค์กรจะสามารถใช้ประโยชน์จากบริการเครือข่ายหรือ Network as a Service เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่นี่
NTT Ltd. ถือเป็นผู้นำในตารางผู้ให้บริการเครือข่ายองค์กรยอดเยี่ยมระดับโลกของการ์ทเนอร์ (Gartner Magic Quadrant for Enterprise Network Services, Global) โดยอยู่ในตำแหน่งสูงสุดสำหรับด้าน “ความสมบูรณ์ของวิสัยทัศน์” และด้าน “ความสามารถในการดำเนินการ” เมื่อเทียบกับกล่มผู้ให้บริการเครือข่ายรวม 18 ราย
ระเบียบวิธีวิจัย
รายงานนี้อิงจากผลการวิจัยที่ดำเนินการโดยบริษัท Jigsaw Research ในนามของบริษัท NTT จำกัด ครอบคลุม 21 ประเทศใน 5 ภูมิภาคตลอดเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2565 การวิจัยประกอบด้วยองค์กรจาก 16 ภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ภาคค้าปลีกและค้าส่ง ภาคการผลิตและยานยนต์ ภาคการบริการทางการเงิน ภาคเทคโนโลยี และภาคองค์กรดูแลสุขภาพ การวิจัยนี้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้มีอิทธิพลและผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านเครือข่าย ทั้งในด้านไอทีและด้านบทบาททางธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ บริษัท เอ็นทีที จำกัด
ในฐานะส่วนหนึ่งของบริษัท NTT DATA ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านไอทีที่มีมูลค่าตลาด 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัท NTT ถือเป็นบริษัทโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านไอทีชั้นนำที่ให้บริการกลุ่มบริษัทใหญ่ในตาราง Fortune Global 500 มากกว่า 65% ขณะเดียวกันก็ให้บริการกับ 75% ของบริษัทในตาราง Fortune Global 100 เช่นกัน บริษัทมุ่งวางรากฐานระบบนิเวศเครือข่ายแบบครอบคลุมตั้งแต่เอดจ์ถึงคลาวด์ (edge-to-cloud) ให้กับองค์กรมากมาย โดยลดความซับซ้อนของปริมาณงานในสภาพแวดล้อมมัลติคลาวด์ พร้อมกับสร้างสรรค์นวัตกรรมระบบไอทีที่สุดขอบของเครือข่าย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เครือข่าย, คลาวด์ และแอปพลิเคชันมาบรรจบกัน บริษัทยังได้นำเสนอโครงสร้างพื้นฐานที่ปรับแต่งได้ และเพิ่มความมั่นใจถึงแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการออกแบบและดำเนินงานผ่านศูนย์ข้อมูลทุกแห่งของบริษัท ที่ล้วนปลอดภัย ปรับขนาดได้ และปรับแต่งได้ สำหรับการเดินทางสู่อนาคตที่ซอฟต์แวร์จะมีบทบาทมากขึ้น บริษัทพร้อมจะสนับสนุนองค์กรด้วยบริการแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ทุกคนเข้าสู่อนาคตที่ทุกอย่างเชื่อมถึงกันได้อย่างราบรื่นเยี่ยมชมเราได้ที่ services.global.ntt