จากแบบสำรวจที่จัดทำโดย Gartner ที่ได้มีการสำรวจจากพนักงาน 3,523 คนในช่วงไตรมาส 2 ปี 2022 ที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เห็นว่ามีพนักงานน้อยกว่า 1 ใน 3 จากการสำรวจที่รู้สึกว่าค่าจ้างที่พวกเขาได้รับนั้นมีความยุติธรรมหรือเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ Gartner ยังพบว่าพนักงานที่รู้สึกว่าได้รับค่าจ้างที่ไม่เหมาะสมนั้นมีความตั้งใจทื่จะอยู่ต่อกับนายจ้างปัจจุบันลดลงไปถึง 15% และมีส่วนร่วมในงานนน้อยกว่า 13% เมื่อเทียบกับพนักงานที่รู้สึกโอเคกับค่าจ้างที่ได้
“ความอ่อนไหวของพนักงานที่รู้สึกถึงช่องว่างของค่าจ้างนั้นกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้โดยเฉพาะเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และตลาดแรงงานอันร้อนแรง ที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของค่าจ้างระหว่างพนักงานที่เคยว่าจ้างอยู่แล้ว กับพนักงานที่จะจ้างเข้ามาใหม่” หัวหน้าอาวุโสแห่ง Gartner HR Practice คุณ Tony Guadagni กล่าว
จากสิ่งที่เกิดขึ้น องค์กรส่วนใหญ่จึงกำลังพยายามแก้ไขปัญหาช่องว่างดังกล่าว ซึ่งในช่วงกรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมาทาง Gartner ได้สำรวจผู้นำ 104 ท่าน พบว่า 84% นั้นได้เริ่มมีการดำเนินการตรวจสอบความยุติธรรมในการจ่ายเงินค่าจ้างอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งแม้จะเริ่มดำเนินการทางเทคนิคแล้ว แต่ทว่าพวกเขายังไม่ได้แก้ไขปัญหาในเรื่องการรับรู้ของพนักงาน
“สิ่งที่ขับเคลื่อนความรู้สึกของพนักงานนั้นคือความเชื่อใจในองค์กร ซึ่งถ้าพนักงานไม่เชื่อใจในผู้จ้าง พวกเขาก็จะไม่เชื่อว่าค่าจ้างที่พวกเขาได้นั้นมีความยุติธรรมหรือเท่าเทียม” คุณ Guadagni กล่าว
ดังนั้น หากองค์กรใดต้องการเสริมสร้างการรับรู้ของพนักงานในเรื่องความเท่าเทียมของค่าจ้าง แผนก HR จะต้องสร้างความเชื่อใจในองค์กรให้เกิดขึ้นกับพนังกาน ด้วยการสื่อสารที่มากขึ้น ตรวจสอบได้ (Accountability) ได้กว้างขึ้น หรือสร้างทีมงานที่มีการให้ค่าจ้างที่เท่าเทียมขึ้นมา