13 เทรนด์ Digital Transformation แห่งปี 2023

0

แม้ว่าปีที่ผ่าน ๆ มา Digital Transformation จะเป็นเทรนด์ยอดฮิตที่หลายองค์กรจำต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่ในปี 2023 นี้ที่โลกดูเหมือนจะรับสถานการณ์ COVID-19 ได้แล้ว ก็ยังคงมีประเด็นอื่น ๆ มากมายที่ทำให้องค์กรจำต้องทรานส์ฟอร์มอย่างต่อเนื่อง 

ตามข้อมูลจาก Statista นั้นได้คาดการณ์ว่าธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลกจะมีการใช้จ่ายในเรื่อง Digital Transformation พุ่งไปถึง 3.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 จากในปี 2022 อยู่ที่ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเรียกว่าเติบโตขึ้นมากกว่า 2 เท่าภายในเวลา 4 ปีเท่านั้น พูดอีกมุมหนึ่งก็คือ Digital Transformation จะยังคงเป็นเทรนด์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 4 ปี

บทความนี้ คือ 13 เทรนด์การทำ Digital Transformation แห่งปี 2023 ที่เชื่อว่าจะมีผลกระทบกับทุกองค์กรซึ่งแม้ว่าจะเป็นธุรกิจที่ไม่ใช่เชิงเทคนิค ก็ยังจำเป็นต้องเริ่มทรานส์ฟอร์มองค์กรแล้วด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เสริมศักยภาพ สร้างความยืดหยุ่น ให้ทันรับกับสถานการณ์โลกที่จะเปลี่ยนแปลงไปอีก และเพื่อยังคงสถานะการแข่งขันในตลาดได้ต่อไป

1. Automation เสริมประสิทธิภาพไปอีกขั้น

เทคโนโลยี Automation คือหนึ่งในสิ่งที่จะใคร ๆ จะมองหามากที่สุดในการทำ Digital Transformation ในปีนี้ ด้วยปัญหาความไม่แน่นอน (Uncertainty) ทั้งหลายที่เกิดขึ้น อาทิ เงินเฟ้อ ราคาพลังงานที่แพงขึ้น ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ จึงทำให้เทคโนโลยี Automation คือสิ่งที่จำเป็นอย่างมากเพื่อช่วยให้องค์กรมีผลิตผล (Productivity) สูงขึ้น ใช้แรงงานมนุษย์น้อยลง รวมทั้งกระบวนงานที่ทำให้กลายเป็นแบบดิจิทัลแล้วนั้นจะเกิดความผิดพลาดน้อยลงอีกด้วย

ตามแบบสำรวจจาก Deloitte ยังชี้ให้เห็นว่า 53% ขององค์กรได้เริ่มพัฒนาระบบ Robotic Process Automation (RPA) แล้ว ส่วน Gartner นั้นทำนายไว้ว่าภายในปี 2024 ระบบ Hyper-automation จะทำให้องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงไปได้สูงถึง 30% และตลาดซอฟต์แวร์ Hyper-automation นั้นจะสูงถึง 860,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย หากองค์กรใดยังไม่ได้พิจารณาในเรื่อง Automation มาก่อน ควรเริ่มพิจารณาได้แล้วว่ามีกระบวนการหรือขั้นตอนใดที่สามารถทดแทนด้วยระบบ Automation ได้บ้าง

Ex. Smart Factory

2. เครื่องมือ Low Code/No Code สนับสนุนแรงงานขาดแคลน

อย่างที่รู้กันว่าปัญหาแรงงานขาดแคลน (Talent Shortage) ยังคงเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทีมไอทีจำต้องอยู่ภายใต้ความกดดันอย่างมากเมื่อต้องทำเรื่อง Digital Transformation ให้กับองค์กร และหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยทำให้เกิดกระบวนงานอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็วนั่นคือเครื่องมือแบบ Low Code/No Code ที่สามารถช่วยสนับสนุนการการพัฒนาระบบอย่างรวดเร็วขึ้น พร้อมกับแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลนได้อย่างมาก

ด้วยความสามารถของเครื่องมือที่ใช้การเขียนโค้ดที่น้อย (Low Code) หรือไม่ต้องเขียนเลย (No Code) จะทำให้องค์กรสามารถสร้าง “ทีมผสม (Fusion Team)” ที่รวมคนจากฝั่งธุรกิจกับฝั่งเทคโนโลยีมาไว้ในทีมเดียวกันได้มากขึ้น ซึ่งเครื่องมือ Low Code/No Code จะเป็นตัวกระตุ้นให้ทีมนี้สามารถสร้างสรรค์โครงการใหม่ ๆ ขึ้นมาได้เร็วกว่าในอดีตอย่างมาก เพราะการมีคนจากฝั่งธุรกิจที่เข้าใจความต้องการของผู้ที่ใช้งานจริง ๆ โดยตรง และสามารถใช้งานเครื่องมือ Low Code/No Code ได้ด้วยตนเอง จึงทำให้เกิดเป็นโซลูชันที่ใช้งานได้จริงอย่างรวดเร็ว ตรงโจทย์ทางธุรกิจมากขึ้น และถ้าหากจำเป็นต้องใช้ทำอะไรที่ซับซ้อน ทีมเทคนิคก็จะสามารถสนับสนุนได้ทันที 

3. AI/ML ปลดล็อกศักยภาพไปอีกขั้น

วิวัฒนาการของ AI/ML ที่เกิดขึ้นมาอย่างก้าวกระโดดนั้น กำลังเปลี่ยนโลกของการทำงานไปโดยสิ้นเชิง ตามที่เห็นได้ว่าหลาย ๆ งานในปัจจุบันนั้นสามารถใช้ระบบ AI ทดแทนมนุษย์ได้แบบครบถ้วน เช่น ระบบแนะนำส่วนบุคคล ระบบรู้จำใบหน้า เอกสาร หรือป้ายทะเบียนรถยนต์ แชทบอท หรือว่าระบบวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้นแล้ว ยังมีความแม่นยำมากกว่า แถมประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าอีกด้วย ซึ่งปี 2023 นี้ AI/ML ก็จะยังคงเติบโตและสามารถปลดล็อกศักยภาพใหม่ ๆ ไปอีกขั้นให้เห็นกันทั่วโลกอย่างแน่นอน 

ที่สำคัญ การกำเนิด ChatGPT ที่ได้ทำให้โลกเกิดความกังวลมากมายตั้งแต่ปลายที่ผ่านมานั้น ก็ดูเหมือนจะยิ่งปรับภูมิทัศน์การทำงานยุคใหม่ไปอีกขั้น ซึ่งไม่แน่ว่าโลกการทำงานในอนาคต องค์กรต่าง ๆ อาจต้องแข่งขันกันในเรื่องความสามารถในการปรับใช้ AI ต่าง ๆ ที่มีให้บริการทั่วโลก อย่าง ChatGPT, Midjourney หรือ Imagen แทน ซึ่งหากองค์กรใดที่ไม่ได้ใช้งาน AI ใด ๆ เลย ก็อาจจะตกขบวนและออกจากการแข่งขันไปได้อย่างง่ายดาย

4. Composability เสริมความคล่องตัว

แน่นอนว่าความคล่องตัว (Agility) คือสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในสถานการณ์ทุกวันนี้ แต่ทว่าองค์กรส่วนใหญ่จะไม่สามารถสร้าง Agility ขึ้นมาได้เพราะเทคโนโลยีที่ใช้งานยังล้าหลังเกินไป ผนวกกับเรื่องข้อมูลภายในองค์กรที่ยังเป็นไซโล (Silo) อยู่จำนวนมาก จึงทำให้ Mulesoft คาดว่าปี 2023 นี้ หลายองค์กรจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยกลยุทธ์ถอดประกอบได้ (Composable) กันมากขึ้น คือการพัฒนาสิ่ง ๆ ให้สามารถ “ใช้ซ้ำ (Reuse)” เพื่อทำให้ทีมงานสามารถนำไปประยุกต์ (Adapt) ต่อยอดได้ทันกับตามความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 

นอกจากนี้ Gartner ยังได้คาดการณ์ไว้ด้วยว่า ภายในปี 2023 องค์กรใหญ่ ๆ กว่า 60% จะมีการใส่กลยุทธ์การเป็น “Composable Enterprise” เพิ่มเป็นอีกเป้าหมายขององค์กร เนื่องจากองค์กรที่ใช้กลยุทธ์ Composable จะสามารถเร่งความเร็วในการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ออกมาให้ผู้ใช้งานได้สูงถึง 80% เลยทีเดียว นี่จึงเป็นอีกเทรนด์ที่จะทำให้หลาย ๆ องค์กรทั่วโลกสามารถทรานส์ฟอร์มได้สำเร็จในปีนี้

5. Total Experience (TX) ประสบการณ์ทั้งฝั่งผู้บริโภคและพนักงาน

ก่อนหน้านี้องค์กรส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นในเรื่องการปรับปรุงประสบการณ์ผู้บริโภค (Customer Experience : CX) เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและสร้างความจงรักภักดี (Loyalty) ต่อแบรนด์ หากแต่หลังจากนี้ องค์กรจะเริ่มกลับมาสนใจในประสบการณ์ของพนักงาน (Employee Experience : EX) กันมากขึ้น เพราะสิ่งนี้คืออีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญของความสำเร็จองค์กรในอนาคต และทั้งสองส่วนนี้รวมกันเรียกว่า Total Experience (TX)

เรื่องนี้ Mulesoft ได้คาดการณ์ว่าในปี 2023 นี้ จะมีองค์กรชั้นนำจำนวนมากเริ่มพิจารณาเรื่อง Total Experience มากขึ้น เพื่อปรับปรุงเส้นทาง (Journey) ในการเป็นลูกค้าหรือว่าพนักงานให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นทั้งพนักงานและผู้บริโภคในเวลาเดียวกันนั้นจะยิ่งทำให้เกิดประสบการณ์ร่วมที่เหนือไปอีกขั้น และนอกจากจะทำให้ประสบการณ์ของพนักงานดีขึ้นแล้ว ยังเสริมให้องค์กรมีมูลค่าทางธุรกิจมากขึ้นอีกด้วย แถมยังเป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วจากฝั่งลูกค้ามาใช้ซ้ำในฝั่งพนักงานในทำนองเดียวกันได้เลย ดังนั้น ทุกองค์กรสามารถทำได้ทันที ซึ่ง Gartner คาดการณ์ว่าภายในปี 2024 องค์กรที่มุ่งเน้นเรื่อง TX จะเหนือกว่าคู่แข่งในเรื่องความพึงพอใจทั้ง CX และ EX ถึง 25% 

6. Automated Data Intelligence ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างแท้จริง

ที่ผ่านมาจะเห็นว่าแทบทุกองค์กรกำลังพยายามขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven) กันทั้งสิ้น แต่ทว่าข้อมูลที่ถือว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่านี่เองนั้นกลับยังคงถูกจัดเก็บไว้เป็นไซโล (Silo) เสียส่วนใหญ่ จะเรียกใช้ก็มักจะเกิดความติดขัดอะไรมากมายภายในองค์กรอยู่เสมอ แต่ Mulesoft ได้ชี้ว่าหลาย ๆ องค์กรจะแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีการ Composable เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ง่ายขึ้น ซึ่งเมื่อดำเนินการได้สำเร็จจะทำให้เกิด “Data Fabric” ที่ข้อมูลจะเชื่อมโยงกันได้ทุกแพลตฟอร์มและกับผู้ใช้งานในภาคธุรกิจ เหมือนผ้าที่ถักร้อยไว้ด้วยกัน

นอกจากนี้ ถ้าองค์กรมีการลงทุนในระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real Time เพิ่มเติมใน Data Fabric แล้ว จะยิ่งเสริมทำให้องค์กรสามารถดำเนินการตัดสินใจได้อย่างอัตโนมัติ (Automate Decision-Making) และสามารถใช้งานข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทั้งสองสิ่งจะทำให้กลายเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้อย่างแท้จริง

7. Cybersecurity ที่เชื่อมโยงหลาย Layer มากขึ้น

เรื่อง Cybersecurity คือสิ่งที่คู่กันกับ Digital Transformation อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเนื่องจากองค์กรมีการลงทุนในสถาปัตยกรรมแบบกระจาย (Distributed Architecture) และเทคโนโลยีที่ขอบ (Edge Technology) กันมากขึ้น จึงส่งผลให้ปีนี้คาดว่าจะเกิดความเสี่ยงในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย (Security) มากขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้น องค์กรควรต้องปรับใช้แนวทางการสร้าง “Cybersecurity Mesh” หรือสถาปัตยกรรมแบบ Composable ที่เชื่อมโยงบริการ Security ให้มีความหลากหลายและซ้อนกันไว้หลาย ๆ ชั้นกระจายไว้ในทุก ๆ จุด

ในเรื่องนี้ Gartner กล่าวว่าภายในปี 2024 องค์กรที่ได้ปรับใช้สถาปัตยกรรม Cybersecurity Mesh นั้นจะสามารถลดผลกระทบด้านการเงินจากเหตุการณ์โจมตี Security ลงไปได้โดยเฉลี่ยถึง 90% เลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ดี การจะทำให้วิธีการนี้ได้สำเร็จ ก็อาจจำเป็นต้องมีระบบการบริหารสักตัวที่สามารถจัดการทุก Connection, API หรือพวก Component ต่าง ๆ อย่าง Automation Bot ที่ใช้งาน ได้จากหน้าจอ Administration ในที่เดียว เพื่อทำให้เห็นภาพรวมของทุกส่วนขององค์กร แล้วบริหารจัดการความเสี่ยงในทุก ๆ Attack Surface ที่อาจเหตุโจมตีขึ้นได้อย่างครอบคลุม

https://o.aolcdn.com/images/dims?quality=85&image_uri=https%3A%2F%2Fs.yimg.com%2Fos%2Fcreatr-images%2F2020-04%2F64396da0-78f4-11ea-afff-833061cb28e1&client=amp-blogside-v2&signature=0d230e4b613954dcba74674423e4014cfefaeb47

8. Hybrid Workforce อยู่ที่ไหนก็ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 เกิดขึ้นและอาจจะกำลังผ่านพ้นไป ได้ทำให้แนวทางการทำงานในยุคใหม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรก็ว่าได้ ซึ่งตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมานั้นได้พิสูจน์ให้เห็นส่วนหนึ่งแล้วว่าพนักงานหลาย ๆ ตำแหน่งสามารถทำงานจาก “ที่ไหนก็ได้” ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน นั่นแปลว่าหลาย ๆ องค์กร อาจไม่จำเป็นต้องให้พนักงานเข้ามาที่ออฟฟิศพร้อม ๆ กันทั้งหมดก็เป็นได้ 

สิ่งนี้เรียกว่า “Hybrid Workforce” ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรจะเริ่มเกิดทีมทำงานที่ผสมผสานพนักงานจากหลายที่หลายแห่ง หลาย Time Zone ที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นจะต้องพึ่งพาเครื่องมือนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ เครื่องมือประชุมทางไกล Collaboration Tool และอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนให้ทีมงาน Hybrid Workforce ให้ทำงานได้เหมือนกับช่วงยุคก่อนที่ COVID-19 จะแพร่ระบาดเกิดขึ้น 

9. Cloud Migration จะมีมากขึ้น

อีกสิ่งหนึ่งที่คู่กับการทำ Digital Transformation นั่นคือเทคโนโลยี Cloud ซึ่งจะเห็นว่าองค์กรธุรกิจเริ่มทยอยหันมาใช้งาน Cloud กันมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสิ่งนี้ได้พิสูจน์ให้หลาย ๆ แห่งเห็นแล้วว่าสามารถลดค่าใช้จ่าย เสริมประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งลดปัญหาการบำรุงรักษาที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง หรือเรื่องการจ้างพนักงานเพื่อมาดูแลระบบหลังบ้านของตัวเอง เป็นต้น

อย่างไรก็ดี การใช้ Cloud เจ้าเดียวหรือที่เดียวนั้นก็เริ่มจะไม่เพียงพอในการให้บริการได้อย่างมีเสถียรภาพ จนทำให้เกิดการใช้งานแบบ Hybrid Cloud อันเป็นเทรนด์มาก่อนหน้านี้ และในปี 2023 จะเริ่มเห็นการปรับใช้สถาปัตยกรรม Multi Cloud มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อทำให้บริการมีความเสถียรภาพสูง ลดความเสี่ยงต่าง  ๆ รวมทั้งเวลา Downtime ได้ หากแต่การปรับใช้ Cloud กันมากขึ้นก็ทำให้มีช่องโหว่ในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งนี้เองคือส่วนที่ทั้งผู้ใช้งานและผู้ให้บริการทั้งหลายต้องคิดคำนึงถึงไปด้วยพร้อม ๆ กัน

10. Everything as a Service (XaaS) ทุกอย่างเป็นบริการได้หมด

เช่นเดียวกับเรื่อง Total Experience ในมุมของบริการหรือ Service ต่าง ๆ ก็จะเห็นได้ชัดมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าทุกอย่างสามารถให้บริการผ่าน Cloud ได้ทั้งหมด ซึ่งนั่นแปลว่าโลกกำลังจะเริ่มกลายเป็น Everything-as-a-Service (XaaS) ที่ไม่ว่าจะเป็นบริการหรือแอปพลิเคชันอะไร ก็จะกลายเป็นบริการที่เข้าถึงได้ง่าย เริ่มใช้งานได้อย่างรวดเร็วแทบจะทันที 

ปีนี้และถัด ๆ ไป จะได้เห็นบริการที่จะมาในรูปแบบลักษณะ Subscription มากขึ้น แทนที่จะเป็นการจ่ายเงินเพื่อซื้อ License แทน ด้วยข้อดีที่ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อย่างเช่นเครื่อง Server รวมถึงค่าบำรุงรักษา รวมทั้งเรื่องความเร็วที่ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นใช้งานได้แทบจะทันที จึงทำให้ผู้ใช้งานเลือกที่จะไปใช้บริการ as-a-Service มากกว่า และนั่นคือสิ่งที่ทำให้ผู้ให้บริการต้องปรับตัว จนกลายเป็น Everything-as-a-Service นั่นเอง

Shot of a programmer connecting to a user interface while working in an office at night

11. Blockchain จะมีการลงทุนมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าตลาด Cryptocurrency จะดำดิ่งไปในช่วงปีที่ผ่านมา แต่เทคโนโลยี Blockchain นั้นคือส่วนแกน (Core) ที่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นว่าหลาย ๆ องค์กรและอุตสาหกรรมยังคงนำเอาเทคโนโลยีไปปรับใช้กันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี มีบางอุตสาหกรรมที่ได้พิสูจน์แล้วว่า Blockchain ไม่ได้อาจช่วยแก้ไขปัญหาได้ทุกสิ่ง 

ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบัน Blockchain ก็ยังคงถือว่าเป็นเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Emerging Technology) และยังคงมีโอกาสที่จะดิสรัป (Disrupt) เทคโนโลยีดั้งเดิมได้ ซึ่งปีนี้คงจะได้เห็นการลงทุนพัฒนาในเทคโนโลยี Blockchain อย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าจะยังคงจะได้เห็น Blockchain ใหม่ ๆ กับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกมา ซึ่งต้องติดตามกันต่อไปว่าวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นจะสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ และเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมกำลังจะขับเคลื่อนไปในทิศทางใดต่อไป

Source: ShutterStock.com

12. กำเนิด Customer Data Platform จำนวนมาก

Customer Data Platform (CDP) นั้นเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงแอปพลิเคชันและฐานข้อมูลต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันเพื่อทำให้องค์กรมีข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ลูกค้าแต่ละคน เพื่อสร้างความเข้าใจลูกค้าแต่ละแห่งให้กับองค์กรได้มากที่สุด และสร้างโอกาสให้กับธุรกิจในการทำการตลาดหรือขายสินค้าในอนาคตได้อย่างตรงจุด และเป็นส่วนบุคคลที่มากยิ่งขึ้น

ดังนั้น ปีนี้จะเห็นหลาย ๆ องค์กรเร่งพัฒนา CDP กันมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอนเพราะโลก Cookieless World นั้นก็กำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ ส่งผลให้ข้อมูลลูกค้าที่องค์กรจัดเก็บเองจึงจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ในการทำธุรกิจในอนาคตต่อไป

13. Sustainability คือทุกสิ่งที่ต้องคำนึง

วินาทีนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูงหรือพนักงานทั่วไปก็ตาม จำเป็นต้องพิจารณาในเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) ที่จะมีผลกระทบกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติกันทั้งสิ้น เพราะแม้ว่าก่อนหน้านี้ผู้บริหารทั้งหลายจะออกมาพูดในเรื่องความยั่งยืนกันอย่างหนัก แต่ก็ยังไม่พอที่จะทำให้ปัญหาเรื่องสภาพภูมิอากาศหายไปจากโลกใบนี้ได้ในอนาคต

หลังจากนี้ องค์กรที่จะสามารถสร้างความแตกต่างทางธุรกิจในอนาคตได้นั้นจะต้องเป็นกลุ่มองค์กรมุ่งเน้นเรื่อง Sustainability ที่สามารถลดหรือไร้การปล่อยมลพิษต่าง ๆ ออกมาสู่โลกใบนี้ได้สำเร็จ ซึ่งจะเห็นภาพนี้ชัดขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตอันใกล้ โดย Mulesoft ชี้ว่าในปี 2023 นี้องค์กรจะแสวงหาแนวทางในการขับเคลื่อนเรื่อง Sustainability ในการดำเนินงานต่าง ๆ ผ่านการใช้กลยุทธ์ Composable กันมากขึ้น เพื่อปลดล็อกการเชื่อมโยงข้อมูลและแอปพลิเคชันต่าง ๆ พร้อมกับปรับใช้ Automation และ Analytics เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึก (Insight) ที่จะทำให้การทำธุรกิจมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน ซึ่ง ณ ตอนนี้ ผู้นำองค์กรบางส่วนก็ได้เริ่มนำเอาเรื่อง Sustainabiltiy เข้าไปอยู่ในหัวใจของธุรกิจแล้วและคาดว่าจะมีงบประมาณมาลงทุนในเรื่องนี้ราว 10-20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า

References