อาชีพในสายงานอุตสาหกรรมนั้นจำเป็นจะต้องมีแรงงานดำเนินการประจำอยู่ที่เครื่องจักรเสมอ หากแต่จะเป็นอย่างไรถ้างานเหล่านั้นสามารถทำได้ด้วยวิธีการรีโมทเหมือนกับการทำงานในสายงานคอมพิวเตอร์ ตอนนี้ได้เริ่มมีงานวิจัยของห้องปฏิบัติการ Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory หรือ CSAIL มหาวิทยาลัย MIT ได้นำระบบเสมือนจริง (Virtual Reality หรือ VR) มาทดลองประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมแขนกลด้วยอุปกรณ์ Oculus Rift
ในงานวิจัยระบุว่า ระบบที่ทดลองเสมือนเป็นการฝังผู้ใช้อยู่ในห้อง Control ของหัวหุ่นยนต์น้นๆ ซึ่งผลก็คือจะทำให้ผู็ใช้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวไปมาของหุ่นได้ดีและสามารถทำภาระงานต่างๆ ได้สำเร็จอีกด้วย โดยตัวอย่างที่ได้ทดลองคือการใช้ VR ควบคุมหุ่นยนต์ Baxter จาก Rethink Robotics โดยหลักการทำงาน จะมี 2 แนวทางหลักคือ
- แบบ direct ตรงไปตรงมา คือเป็นการใช้การมองเห็นจริงของผู้ใช้เพื่อดูสถานะของหุ่นยนต์ ซึ่งวิธีการนี้พบว่าสัญญาณที่ delay จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนคลื่นไส้และปวดหัว และการมองเห็นของผู้ใช้จะค่อนข้างจำกัดเพียงแค่มุมมองเดียว
- อีกวิธีการหนึ่งคือ cyber-physical คือแยกการมองเห็นของผู้ใช้จากหุ่นยนต์ แล้วให้ผู้ใช้ปฏิสัมพันธ์กับโลกเสมือนของสิ่งแวดล้อมและหุ่นยนต์ หากแต่วิธีการนี้จะต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากและอยู่ใน space ค่อนข้างพิเศษ
ในปัจจุบัน ทีมวิจัย CSAIL อยู่ในระหว่างการและทดสอบทั้งสองวิธีนี้โดยสามารถลดการ delay ในแบบ direct ได้ อีกทั้งสามารถแก้ไขปัญหาของวิธี cyber-physical ได้แล้วเช่นกัน โดยการใช้ Oculus headset ซึ่งทำให้ให้เสมือนอยู่ในหัวของหุ่นยนต์และสามารถควบคุมได้เสมือนจริงมากขึ้น อีกทั้งเป็นการใช้การประมวลผลของตาคนจากการมองภาพ 2D ในสองตา ซึ่งจะสามารถทำให้กลายเป็นภาพ 3D ได้ด้วยสมองของคน ซึ่งการทดสอบเบื้องต้นได้ผลว่าผู้ใช้สามารถทำให้ Baxter ทำงานที่ง่ายๆ ได้แล้ว เช่นการหยิบสกรู หรือการติดลวด เป็นต้น ซึ่งพบว่าผู้ใช้สามารถทำงานได้สำเร็จได้ดีกว่าด้วยวิธีการดังกล่าวนี้
นักวิจัยคาดหวังว่าระบบในงานวิจัยนี้จะสามารถช่วยให้มนุษย์ควบคุมหุ่นยนต์ในระยะไกลได้ ซึ่งจะช่วยให้อาชีพแรงงานที่จะต้องทำงานที่หน้างานสามารถทำงานโดยการรีโมทเหมือนพนักงาน IT ได้ อีกทั้งอาจช่วยให้สามารถจ้างงานคนที่ชอบเล่นเกมมาทำงานในลักษณะนี้ได้อีกด้วย
Source : https://www.sciencedaily.com/releases/2017/10/171004142706.htm