นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นสามารถรู้ได้ว่าคุณกำลังมองไปที่ภาพอะไรอยู่ด้วยการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence คู่กับการสแกนภาพ fMRI จึงดูเหมือนสามารถสร้างระบบ AI ที่เหมือนอ่านใจคนได้
“หรือเหมือนจะคล้ายๆ กับการ skim จิตใจได้คร่าวๆ” กล่าวโดยคุณ Umut Güçlü นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Radboud ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ผู้ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยครั้งนี้กล่าว
จริงๆ แล้วก็ไม่ต่างจากเทคโนโลยีระบบ AI อื่นๆ ที่นำมาใช้สำหรับบรรยายภาพ (caption) ได้สำเร็จ โดยการทำระบบ AI นี้กับสมองใครสักคนก็ต้องเริ่มต้นด้วยการมีภาพสมองที่ได้จากเครื่องสแกน fMRI ในขณะที่คนคนนั้นกำลังมองภาพอยู่ ซึ่งการสแกนนี้จะแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมของสมองผ่านการไหลเวียนของเลือดในสมองนั่นเอง
อย่างไรก็ดีระบบ AI ที่อ่านใจได้นั้นไม่ได้มีความถูกต้องทั้งหมด โดยหนึ่งในการทดสอบ ระบบ AI คิดว่าคนกำลังมองกรรไกรทั้งที่จริงๆ แล้วคนนั้นกำลังมองนาฬิกาอยู่ แต่บางครั้งก็ตอบได้ใกล้เคียงมากๆ เช่น ภาพที่ชายคนหนึ่งกำลังพายเรือคายัค ซึ่งระบบตอบมาว่ากำลังเล่นเซิร์ฟบอร์ดอยู่ในมหาสมุทร เป็นต้น กรณีเพิ่มเติม ระบบ AI สามารถตอบได้อย่างถูกต้อง โดยภาพคนหลายๆ คนหรือสุนัขสีขาวดำที่ยืนข้างๆ กันนั้น ระบบจะตอบถูกได้เสมอ
ระบบที่นำเสนอออกมานั้นยังคงมีข้อจำกัด เนื่องจากภาพ fMRI ไม่ได้บันทึกทุกกิจกรรมในสมอง ดังนั้นจึงมีขอบเขตในการบอกรายละเอียดของ caption ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เหมาะกับการใช้งานโดยทั่วไป แต่ก็พอเหมาะเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับงานด้านการแพทย์ได้
ในขณะที่แอปพลิเคชันสำหรับไปงานที่บ้านนั้นอาจจะยังห่างไกลแต่เทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาระบบ Brain-Computer Interface (BCI) ได้ โดยการใช้ขั้วไฟฟ้าเล็กๆ ในการจับกิจกรรมสมิงแทนการใช้เครื่องสแกน fMRI งานวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของระบบ AI ที่วันหนึ่งอาจจะช่วยให้คนสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ผ่านการอ่านใจคนได้