Affectiva ได้เปิดตัวระบบบริการ AI ในด้านยานยนต์ที่จะช่วยให้ผู้ที่สร้างยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ (autonomous vehicle) และระบบการขนส่งใดๆ สามารถติดตามอารมณ์ของผู้ใช้ได้ โดยสิ่งที่ Affectiva ให้บริการนั้นเป็นการติดตามอารมณ์ที่ตอบกลับมาจากผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์และเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ระยะยาวที่จะสร้างข้อมูลทางอารมณ์ที่ดึงจากลำโพงอัจฉริยะ (Smart speaker) หรือยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ด้วยกล้องวิดีโอ หรือส่วนต่อประสาน (interface) ที่ใช้สำหรับการพูดคุยได้
หลังจากการแยกตัวจากห้องปฎิบัติการด้านสื่อแห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซุเซตส์ (MIT Media Lab) เมื่อปีที่ผ่าน Affectiva ได้เปิดตัวเครื่องมือวิเคราะห์เสียงสำหรับผู้สร้างระบบผู้ช่วย AI (AI assistant) และหุ่นยนต์ทางสังคม (social robot) โดยสามารถที่จะตรวจจับอารมณ์ของคนว่ากำลัง “สนุกสนาน (joy)” “ประหลาดใจ (surprise)” “กลัว (fear)” หรือ “โกรธ (angry)” โดยตรวจจับจากใบหน้า และสิ่งอื่นๆ เช่น เสียงหัวเราะ หรือว่าระดับความเย้ายวนในเสียง เป็นต้น
ในการนำผลิตภัณฑ์ไปพัฒนาสำหรับรถยนต์ Affectiva ทำออกมาเป็นลักษณะ OEM โดยภายในจะสามารถใช้งานร่วมกับกล้อง RGB หรือว่ากล้องอินฟราเรดก็ได้ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ค่าความมั่นใจ (confidence score) โดยอิงจากปัจจัยต่างๆ เช่น จำนวนครั้งที่กระพริบตาต่อนาที จากการใช้โมเดล AI ในการระบุว่ามีอาการง่วงนอน หาว หรือสัญญาณความเมื่อยล้าอื่นๆ ของคนขับได้ อีกทั้ง ปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่น สภาพอากาศ หรือสภาพท้องถนนว่าอยู่บนทางด่วนหรือว่าอยู่ถนนในเมือง ก็สามารถนำมาใช้พิจารณาด้วยเช่นกันว่าเมื่อใดที่คนขับรถควรจะต้องเป็นคนควบคุมเอง
ในยานพาหนะกึ่งขับเคลื่อนอัตโนมัติ (semi-autonomous vehicle) ทาง Affectiva จะสนใจในเรื่องการติดตามคนขับรถเป็นหลักเพื่อช่วยให้เพิ่มความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกทั้งกับคนขับและเครื่องยนต์ได้