Google จะช่วยเก็บรักษาข้อมูลสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีโอกาสสูญสลายไปในโลกความจริงเสมือน

0
https://cdn.vox-cdn.com/thumbor/3U_toHGj0RFaQhLlpGm03XJ5DV8=/0x0:1283x713/920x613/filters:focal(540x255:744x459)/cdn.vox-cdn.com/uploads/chorus_image/image/59407511/Bagan_Exp_Intro.1523898160.png

Google ได้ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร CyArk ในการทำสแกนภาพเลเซอร์สามมิติ เพื่อที่จะช่วยเก็บรักษาข้อมูลสถานที่ทางประวัติศาสตร์ต่างๆ รอบโลกที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหาย หรือเกิดภัยตามธรรมชาติ หรือถูกทำลายโดยฝีมือมนุษย์อย่างไม่สามารถย้อนคืนได้ โดยความร่วมมือนี้เรียกว่าโครงการ Open Heritage ซึ่งจะเป็นการใช้เทคโนโลยีสแกนเลเซอร์ของ CyArk เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสถานที่ทางประวัติศาสตร์เพื่อเพียงพอที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ในโลกความจริงเสมือน (Virtual Reality) ซึ่งจะทำให้สถานที่เหล่านั้นถูกจัดเก็บและสามารถสืบค้นได้ออนไลน์ผ่านทางคอมพิวเตอร์หรือผ่านโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ Virtual Reality ที่สามารถสวมใส่ได้

“ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย พวกเราจึงสามารถเก็บข้อมูลอนุสาวรีย์ต่างๆ ที่สามารถเก็บรายละเอียดได้มากกว่าที่ผ่านๆ มา รวมถึงข้อมูลสี เนื้อ texture พื้นผิวสัมผัสตามรูปทรง โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ที่มีความแม่นยำระดับมิลลิเมตรในสามมิติ” คุณ Chance Coughenour นักโบราณคดีดิจิทัลและผู้จัดการโครงการแผนก Google Arts and Culture กล่าว “อีกทั้งรายละเอียดที่สแกนได้มานี้สามารถใช้ในการระบุพื้นที่ที่มีความเสียหายและสามารถแนะนำส่วนที่จะฟื้นฟูได้”

Google Arts & Culture นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยเก็บข้อมูลศิลปะเพื่อรักษาและสามารถเข้าถึงได้จากทั่วมุมโลก ส่วน CyArk นั้นคุณ Ben Kacyra เจ้าของนั้นได้มีแรงบันดาลใจในการสร้างองค์กรนี้ขึ้นมาหลังจากได้เห็นรูปปั้นพระพุทธรูปแห่งบามียานอายุ 1,500 ปีในอัฟกานิสถานได้ถูกทำลายลงเมื่อ พ.ศ.2544 หรือ 17 ปีก่อน ซึ่งการทำลายล้างสิ่งที่เป็นโบราณสถานนั้นคือสิ่งที่คุณ Kacyra เป็นห่วง จึงมีเป้าหมายให้ CyArk นั้นต้องการที่จะเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์เหล่านี้ไว้ก่อนที่จะสลายไปก่อน จึงทำให้เกิดระบบเลเซอร์สแกนในเวอร์ชันที่สูงขึ้น เฉกเช่นกับการถ่ายภาพความละเอียดสูงด้วยโดรนและกล้อง DSLR

https://cdn.vox-cdn.com/thumbor/7sELef2tNpwVhbTNTutgVLSUAfg=/800×0/filters:no_upscale()/cdn.vox-cdn.com/uploads/chorus_asset/file/10658587/bagan_VR.gif

 

สถานที่หนึ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วก่อนหน้านี้คือวัด Ananda Ok Kyaung ในประเทศพม่า ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา โดย CyArk ได้จัดการเลเซอร์สแกนสถานที่ก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหว แล้วเปิดประสบการณ์ใหม่ให้สามารถเที่ยวชมผ่านระบบสามมิติที่ตอบโต้ได้ (interactive 3D) นอกจากวัด Ananda Ok Kyuang แล้ว ยังมีที่อื่นๆ อีก 24 แห่งจาก 18 ประเทศรอบโลก เช่น พระราชวัง Azm ในประเทศซีเรีย ชีเชตอิตซา (Chichen Itza) ในประเทศเม็กซิโก

https://cdn.vox-cdn.com/thumbor/cvcGm4Hxc3WmF40ApTJUG302Myc=/0x0:1382×709/920×0/filters:focal(0x0:1382×709)/cdn.vox-cdn.com/uploads/chorus_asset/file/10661701/Screen_Shot_2018_04_16_at_9.59.01_AM.png

 

โดยช่วงเวลาที่ผ่านมา Google และ CyArk ได้สร้างร่วมมือกับ 1,500 พิพิธภัณฑ์จาก 70 ประเทศในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นใน Virtual Reality อีกทั้งยังมีแผนที่จะปล่อยข้อมูลโมเดลออกมาเพื่อให้นักวิจัยหรือหน่วยงานที่สนใจสามารถที่จะดาวน์โหลดข้อมูลไปใช้งานเพื่อสร้างแอปพลิเคชัน หรือเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในการหาทางที่จะช่วยรักษาและบูรณะสถานที่จริงได้ ซึ่งโมเดล Open Heritage ต่างๆ นี้จะออนไลน์บน Google Arts and Culture ที่มีแอปอยู่บนทั้ง iOS และ Android โดยโทรศัพท์นั้นจะต้องรองรับระบบโลกความจริงเสมือนผ่านแพลตฟอร์ม Google Daydream

Source : https://www.theverge.com/2018/4/16/17241710/google-cyark-partnership-vr-virtual-reality-preserve-historical-sites