เมื่อไปที่ Google Maps แล้วซูมออก หากถอยไปได้ครึ่งทางแล้วจะพบว่ามุมมองของแผนที่นั้นเปลี่ยนไปจากวิธีดั้งเดิมที่มุมมองจะเป็นแผนที่แบบแบนๆ กลายมาเป็นลูกโลกที่ interactive ได้ และหากซูมออกทั้งหมดแล้วจะพบว่าโลกจะถูกแสดงเป็นเหมือนลูกกลมที่แสดงแต่ละทวีปในขนาดที่เหมาะสม อย่างเช่นเกาะกรีนแลนด์ (Greenland) นั้นก็จะไม่ได้มีขนาดเท่ากับแอฟริกา และทุกๆ ในโลกนั้นถูกต้องแล้ว
ในแผนที่แบบแบนนั้นมันเป็นไปได้ที่จะนำเสนอขนาดทวีปบนขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยวัตถุในทางเหนือและใต้นั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยว (distort) ให้มาเป็นแผนที่แบบแบนเพื่อแลกกับการทำลูกโลกให้แบนลงไปได้ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดที่เมื่อใช้เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ (Mercator projection) แล้วจะมีการนำเสนอขนาดของพื้นที่รอบๆ เส้นศูนย์สูตร (equator) ด้วยขนาดที่เหมาะสม หากแต่จะมีขนาดใหญ่มากในทวีปอาร์กติกและทวีปแอนตาร์กติกา
และตอนนี้ เมื่อ Google Maps ถูกใช้งานบนเครื่อง desktop ผู้ใช้จะสามารถมองเห็นขนาดที่เหมาะสมของแต่ละทวีปได้แล้ว โดยอัพเดทนี้เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมจริงๆ หากแต่ก็ยังมีพบว่ายังมีบางที่ที่ยังไม่ให้ซูมออกไปได้ และยังพบว่ามีหลายๆ พื้นที่ที่ยังว่างเปล่าอยู่
Source : https://techcrunch.com/2018/08/03/google-maps-is-no-longer-flatearth/