เจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพต่างทราบกันดีว่า การรับรู้สถานการณ์คือกุญแจสำคัญ ภายใต้ความรุนแรงภายในครอบครัว การช่วยเหลือตัวประกัน หรือสถานการณ์การค้ามนุษย์นั้น เจ้าหน้าที่มักต้องการรู้ให้แน่ชัดว่ามีผู้เคราะห์ร้ายอยู่ตรงไหนของข้างหลังประตูที่ปิดอยู่ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ Lumineye ได้รับการพัฒนาเป็นอุปกรณ์เรดาร์ชนิดพิมพ์สามมิติที่ใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์สัญญาณแยกระหว่างมนุษย์ที่เคลื่อนไหวและยังหายใจอยู่จากวัตถุอื่นๆ ทะลุผ่านกำแพงได้
Megan Lacy, Corbin Hennen, Rob Kleffner และ Anthony Harris เป็นผู้พัฒนา Lumineye นี้ขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีเรดาร์ตรวจจับชีพจร ลักษณะการทำงานคล้ายการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน (echolocation) แบบเดียวกับที่ค้างคาวและปลาโลมาใช้สื่อสาร อุปกรณ์จะส่งสัญญาณและรอสัญญาณชีพจรตอบกลับมา ซอฟต์แวร์จะวิเคราะห์ชีพจรนั้นเพื่อระบุขนาด พิสัย และคุณสมบัติการเคลื่อนไหวของสัญญาณนั้นแบบคร่าวๆ
แอป Lumineye จะบอกผู้ใช้งานว่า บุคคลอีกฟากหนึ่งอยู่ไกลเท่าไรขณะที่เขากำลังขยับและหายใจอยู่ ซึ่งข้อมูลที่ได้เป็นเพียงมิติเดียว จึงยังระบุตำแหน่งแน่ชัดไม่ได้ว่าคนๆ นั้นอยู่ทางซ้ายหรือขวา แต่อุปกรณ์สามารถตรวจพบคนได้ในระยะถึง 50 ฟุตในที่โล่ง ช่วงระยะจะลดลงไปขึ้นอยู่กับวัตถุสิ่งกีดขวาง เช่น แผ่นฝ้าบุหนัง ก้อนอิฐ หรือคอนกรีต
สถานการณ์หนึ่งที่ทีมพัฒนาอธิบายถึงประโยชน์การใช้งาน Lumineye คือ สถานการณ์ช่วยเหลือตัวประกัน เจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพต้องรู้ว่ามีคนในห้องนั้นกี่คนและอยู่ห่างกันเป็นระยะเท่าไร จึงต้องพึ่งอุปกรณ์หลายตัววางประจำตำแหน่งเพื่อช่วยเหลือในภารกิจนี้ได้
เครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมีขนาดน้ำหนักมากและยุ่งยากต่อการใช้งาน ทีมงานพัฒนา Lumineye จึงได้รับแรงบันดาลใจสร้างเครื่องมือที่พกพาได้ง่ายขึ้นที่จะไม่ถ่วงการทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 12 ชั่วโมงหรือข้ามคืน ตัวต้นแบบนี้ใช้งานฮาร์ดแวร์ที่ใช้สำหรับตรวจจับร่วมกับสมาร์ทโฟน โดยมีขนาด 10 x 5 นิ้ว หนัก 1.5 ปอนด์
Lumineye ต้องการขยายการใช้งานให้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งทีมพัฒนาวางแผนจะผลิตอุปกรณ์นี้และจำหน่ายแก่ลูกค้าโดยตรงต่อไป