นักวิจัย MIT ได้สร้างเซนเซอร์ใต้น้าและระบบสื่อสารที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ซึ่งจะช่วยติดตั้งอุปกรณ์ Internet of Things (IOT) เช่น ใช้วัดอุณหภูมิในทะเลแบบเรียลไทม์และติดตามสัตว์ทะเลได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์แบบเดิมๆ หรือเปลี่ยนแหล่งพลังงานเพื่อให้ระบบทำงานต่อ
ระบบดังกล่าวใช้ตัวส่งสัญญาณที่ส่งคลื่นเสียงใต้น้ำซึ่งจะกระทบกับตัวรับสัญญาณโดยกระบวนการนี้ใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น พลังงานที่ใช้ก็คือพลังงานที่เก็บในคลื่นเสียงที่ส่งด้วยตัวส่งสัญญาณ จากนั้นตัวเซนเซอร์จะใช้พลังงานนั้นตอบกลับแบบไบนารี
แรงบันดาลใจในการสร้างระบบนี้ขึ้นมาจาก Fadel Adib ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก MIT Media Lab และเป็นหนึ่งในผู้วิจัยที่พัฒนาโครงการนี้ ขณะที่เขากำลังชมสารคดี “Blue Planet” และพบว่าบนโลกนี้ยังมีมหาสมุทรที่ยังไม่ได้ศึกษา อีกทั้งคิดได้ว่าวิธีทางแก้นั้นไม่ใช่การใช้เซนเซอร์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ซึ่งอาจปล่อยมลพิษมากเกินไป
ระบบทำงานได้โดยให้เพียโซอิเล็กทริกเรโซเนเตอร์ (piezoelectric resonator) ซึ่งใช้ในไมโครโฟนมากว่า 100 ปี มาถอดรูปคลื่นเสียงหรือคงรูปแล้วสะท้อนกลับ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่อยู่ในชนิดของเซนเซอร์ที่ใช้จับคู่กับวัสดุเพียโซอิเล็กทริก จากนั้นก็จะส่งสัญญาณไบนารีกลับมาเพื่อแปลงค่าอีกที
สิ่งที่นักวิจัยจะทำต่อไปคือ ทำให้มั่นใจว่าระบบสามารถใช้งานได้ในระยะไกลขึ้นและทำงานร่วมกับเซนเซอร์หลายๆ ตัวในการส่งสัญญาณพร้อมกันได้ ท้ายที่สุดแล้ว ระบบอาจสามารถส่งสัญญาณเสียงและภาพความคมชัดต่ำได้ ซึ่งยังต้องอาศัยการพัฒนาอีกมากในการติดตั้งสถานีควบคุมทางไกล