การลดการเผาผลาญก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นได้กลายมาเป็นจุดที่มีนัยสำคัญด้านการขนส่ง และในยุโรปนั้น 40% ของมลพิษการขนส่งนั้นมาจากรถบรรทุก จึงทำให้นักวิจัยที่สถาบัน Swiss Federal Institute of Lausanne (EPFL) ได้นำเสนอแนวคิดคอนเซ็ปต์ใหม่ในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากท่อไอเสียของรถบรรทุกที่อาจช่วยการปล่อยก๊าซออกมาได้ถึง 90%
ในงานตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Energy Research นักวิจัยได้นำเสนอการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากท่อไอเสียของรถบรรทุกแล้วเปลี่ยนมันให้กลายมาเป็นของเหลว ซึ่งจะถูกจัดเก็บไว้ในถังบนหลังคายานพาหนะ ซึ่งของเหลวคาร์บอนไดออกไซด์นี้จะสามารถนำมาจัดส่งให้ที่สถานีบริการที่จะสามารถนำกลับไปใช้งานซ้ำ (reuse) ใหม่ได้ในหลายๆ ทาง รวมไปถึงการนำไปเปลี่ยนให้กลายเป็นเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม
การดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นทำงานโดยให้ความเย็นกับก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาจากท่อไอเสีย ซึ่งวัสดุดูดซึมแบบพิเศษที่พัฒนาที่ EPFL นั้นจะสามารถคัดแยกคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากก๊าซอย่างไนโตรเจนและออกซิเจน และเมื่อมันเต็มแล้ววัสดุดูดซึมก็จะถูกให้ความร้อนเพื่อคัดแยกคาร์บอนไดออกไซด์ และความร้อนจากเครื่องยนต์ของยานพาหนะนั้นจะถูกใช้เพื่อบีบอัดคาร์บอนไดออกไซด์แล้วเปลี่ยนมันให้กลายเป็นของเหลว ซึ่งของเหลวนั้นสามารถนำมาจัดเก็บลงในกล่องที่ติดตั้งไว้บนหลังคาของยานพาหนะได้จนกว่าจะถูกนำไปส่งที่สถานีบริการเมื่อไปเติมพลังงานของรถบรรทุกได้
ระบบนี้อาจจะเหมาะสำหรับยานพาหนะขนาดใหญ่อย่างรถบรรทุกหรือว่ารถโดยสารประจำทางมากกว่ารถยนต์ เนื่องด้วยมันมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งจะต้องมีแคปซูลขนาดยาว 2 เมตรและหนักถึง 7% ของน้ำหนักบรรทุกที่รับได้ของรถบรรทุกคันหนึ่ง อย่างไรก็ดี นักวิจัยได้คำนวณแล้วว่า 90% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นจะถูกนำกลับไป recycle ได้ในแนวทางนี้
ณ จุดนี้ ตัวระบบยังเป็นเพียงแค่แนวคิดคอนเซ็ปต์เท่านั้น และนักวิจัยประมาณการณ์ว่าคงจะใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อที่จะทำให้ระบบนั้นสามารถนำมาใช้งานได้ในโลกความจริง ซึ่งในขั้นตอนถัดไปคือการพัฒนาตัวต้นแบบของระบบที่ใช้ทดสอบในในเชิงปฏิบัติการต่อไป
Source : https://www.engadget.com/2019/12/23/epfl-truck-carbon-dioxide-capture-system/