ในปี 2020 ที่ผ่านมานี้ กระแสของการพัฒนา Business Application เพื่อตอบโจทย์การทำงานจากทุกที่ทุกเวลาในยุค New Normal นั้นได้กลายมาเป็นหัวใจหลักของธุรกิจองค์กรหลายๆ แห่ง ที่ถือโอกาสท่ามกลางวิกฤตนี้ในการเปลี่ยนกระบวนการทำงานมาสู่รูปแบบ Digital อย่างเต็มตัว ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้อาศัยเทคโนโลยีในการทำงานให้มากขึ้น และแนวโน้มนี้ก็จะยังคงอยู่กับธุรกิจไปอีกยาวนานหลังจากนี้
Low-Code Development Platform เองก็กลายเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในภาคธุรกิจองค์กรมากขึ้น ด้วยประโยชน์หลักจากการทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถพัฒนา Application ต่างๆ ขึ้นมาใช้งานเองได้อย่างคล่องตัว โดยที่ทีมธุรกิจสามารถเป็นผู้ลงมือสร้าง Application ได้ด้วยตนเองเลย ไม่ต้องอาศัย Software Developer อย่างในอดีต ทำให้การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาตอบโจทย์การทำงานนั้นเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ตอบรับต่อกลยุทธ์การทำ Digitalization ในธุรกิจองค์กรได้เป็นอย่างดี
OutSystems: เมื่อการสร้าง Application คือสิ่งที่ทุกคนทำได้ด้วยตนเอง
ที่ผ่านมาการพัฒนา Application สำหรับการใช้งานในธุรกิจองค์กรนั้นมักเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบด้วยทีมงานภายในทั้งหมด หรือการนำระบบภายนอกมาใช้และมีทีมงานคอยปรับแต่งการทำงานของระบบให้ตอบโจทย์นั้น ก็มักต้องเผชิญกับประเด็นทางด้านเทคนิคที่หลากหลาย ตั้งแต่ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา, ระบบเบื้องหลังที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด, การปรับแต่ง Application เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานจริงของผู้ใช้งานนั้นต้องใช้เวลานาน, การจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เป็นเรื่องยากและซับซ้อน และอื่นๆ อีกมากมาย
ด้วยความท้าทายเหล่านี้ แนวคิดด้าน Low-Code Development Platform จึงถือกำเนิดขึ้นมาด้วยเป้าหมายที่จะทำให้พนักงานทุกคนในองค์กรนั้นสามารถพัฒนา Application ขึ้นมาได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมากนัก แต่มีความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตนเองก็พอ ดังนั้นระบบ Low-Code Development Platform จึงมักถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วๆ ไปที่ไม่ใช่สาย IT นั้นสามารถสร้าง Application ขึ้นมาใช้งานได้ด้วยตนเอง จากหน้าจอการทำงานแบบ Drag & Drop เพื่อกำหนดหน้าจอการทำงานของ Application และการโต้ตอบกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องนั่นเอง
OutSystems คือผู้นำทางด้านเทคโนโลยี Low-Code Development Platform ที่ธุรกิจองค์กรทั่วโลกและทั่วไทยให้ความไว้วางใจใช้งาน เพื่อทำให้พนักงานภายในองค์กรนั้นสามารถเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรมและ Application ทั้งบน Desktop และ Mobile ขึ้นมาได้เองโดยไม่ต้องใช้เวลานาน และไม่ต้องมีทีม Software Developer มาสนับสนุนการทำงานมากนัก ทำให้แต่ละแผนกสามารถก้าวไปข้างหน้าตามกลยุทธ์และนโยบายของตนเองได้อย่างอิสระ ในขณะที่ฝ่าย IT เองก็วางใจว่าระบบ Low-Code Development Platform นี้จะช่วยให้ Application ที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สร้างปัญหาให้กับระบบฐานข้อมูล และไม่ต้องกังวลกับประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบแต่อย่างใด
ในการใช้งาน OutSystems นั้น ผู้ใช้งานจะสามารถเลือกกำหนดหน้าจอการแสดงผลของ Application ด้วยตนเองได้, เลือกเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรเพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาใช้ทำงานได้, เชื่อมต่อกับระบบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรผ่าน API ที่มีอยู่ได้ และกำหนด Business Logic ในแต่ละส่วนของระบบ Application ได้ จากนั้นเมื่อทำการพัฒนาจนเสร็จ ผู้ใช้งานก็จะสามารถเลือกนำ Application ของตนเองนี้ไปเปิดใช้งานได้ทันทีทั้งภายใน Data Center ขององค์กรหรือบน Cloud และ Application ที่ถูกพัฒนาขึ้นมานี้ก็จะสามารถถูกเรียกใช้งานได้ทั้งบน Desktop และ Mobile
ในเชิงของการดูแลรักษา ฝ่าย IT นั้นจะสามารถติดตามการใช้ทรัพยากรของแต่ละแผนกในการพัฒนา Application ของตนเองได้ และทุกส่วนในการพัฒนาระบบนั้น OutSystems จะจัดการกับงานด้านการทำ DevOps เบื้องหลังทั้งหมดให้ ทำให้ผู้ดูแลระบบ IT ไม่ต้องทำการตั้งระบบเหล่านี้ด้วยตนเอง ในขณะที่ทุกขั้นตอนของการพัฒนา Application นั้น OutSystems จะนำ Best Practice ทั้งในเชิงของ Performance และ Security มาบังคับใช้ให้อยู่เสมอ ทำให้มั่นใจได้ว่า Application ที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั้นจะอยู่บนฐานของแนวทางการพัฒนา Software ที่มีคุณภาพ
สำหรับ Software Developer เอง Low-Code Development Platform นี้ก็ไม่ได้ทำให้งานทั้งหมดนั้นหายไปเสียทีเดียว แต่นักพัฒนาซอฟต์แวร์เองก็ยังคงเหลือบทบาทด้านการสนับสนุนสำหรับ Application ที่ต้องเชื่อมต่อ API หรือ Database ที่มีความซับซ้อน หรือการจัดการกับ Application ในส่วนที่มี Business Logic ซับซ้อนมากเป็นพิเศษ ในขณะที่ธุรกิจองค์กรหลายแห่งก็เลือกที่จะให้ Software Developer มาทำการพัฒนา Application บน Low-Code Development Platform แทน เพื่อให้รวดเร็วต่อการขึ้นโครงการใหม่ๆ และง่ายต่อการดูแลรักษาในระยะยาว
ประยุกต์ใช้ Low-Code Software Development ในทุกภาคส่วนของธุรกิจองค์กร
ทั่วโลกนั้นมีการใช้ OutSystems ในฐานะของระบบ Low-Code Development Platform ในหลากหลายรูปแบบ ดังตัวอย่างเช่น
การปรับปรุง Digital Customer Experience หลายธุรกิจนั้นเลือกใช้ OutSystems ในการพัฒนา Application เพื่อให้ลูกค้าของตนเองมาใช้งาน ด้วยจุดเด่นด้านความเร็วในการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ลูกค้านั้นสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลของตนเองได้อย่างสูงสุด และทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างคล่องตัวผ่านระบบ Digital ทันที ซึ่ง OutSystems ก็ช่วยให้การแปลงกระบวนการการให้บริการลูกค้าในแง่มุมต่างๆ มาสู่รูปแบบ Digital ได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องจัดจ้าง Software Developer เพิ่มเติมในการทำงาน
การพัฒนาระบบ Case Management ที่มีความยืดหยุ่น โดยทั่วไปแล้วแต่ละธุรกิจนั้นจะมีการให้บริการลูกค้าด้วยกระบวนการและขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นในการทำ Case Management จึงไม่มีระบบสำเร็จรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที และการใช้ OutSystems ก็จะทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถสร้างระบบ Case Management ที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจตนเองได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้าเหล่านี้เป็นผู้ออกแบบระบบและพัฒนาเองโดยตรง ทำให้ระบบที่ได้รับมานี้ตอบโจทย์การใช้งานอย่างแท้จริง
การปรับระบบ Application เดิมให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น หลายองค์กรนั้นยังคงต้องใช้ระบบ Business Application เดิมที่เคยพัฒนาเมื่อหลายสิบปีก่อนในการทำงาน ซึ่งระบบเหล่านั้นมักมีปัญหาในการใช้งานจริง เช่น อาจไม่รองรับกับ Windows รุ่นใหม่ๆ หรือไม่สามารถใช้งานกับ Mobile Device ได้ หลายองค์กรจึงเลือกใช้ OutSystems ในการพัฒนา Front End ของ Application เหล่านั้นใหม่ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น รองรับการทำงานได้บนทุกอุปกรณ์ และเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลเดิมที่ Application ระบบเดิมนั้นใช้งานอยู่ จนเมื่อระบบนิ่งแล้ว องค์กรก็สามารถเลือกย้ายระบบฐานข้อมูลมายังระบบที่ทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อให้ระบบทั้งหมดสามารถได้รับการดูแลรักษาที่ง่ายดาย และจัดการประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างเหมาะสม
การพัฒนาส่วนเชื่อมขยายให้กับ SAP การพัฒนาส่วนเสริมต่อให้กับระบบ SAP ที่ใช้งานอยู่นั้นมักมีค่าใช้จ่ายที่สูง มีความซับซ้อน และอาจมีหน้าจอการใช้งานที่ไม่ทันสมัยนัก OutSystems ถูกนำไปใช้งานเพื่อตอบโจทย์เหล่านี้ด้วยการนำ OutSystems ไปเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลเบื้องหลัง SAP และทำให้ทีมธุรกิจแผนกต่างๆ สามารถพัฒนา Application ขึ้นมาเองโดยใช้งานข้อมูลจากระบบ ERP หรือ CRM หลักขององค์กรได้ทันที ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้องกับ SAP และช่วยให้ผู้ที่ต้องใช้งานระบบ SAP มีทางเลือกในการทำงานได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น
การพัฒนาระบบ Field Service Management ด้วยแนวโน้มของการที่ธุรกิจนั้นจะต้องทำการให้บริการกับลูกค้าที่มากขึ้น หลายธุรกิจจึงเริ่มพัฒนาะบบ Field Service Management ขึ้นมาด้วยตนเองเพื่อให้พนักงานสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างประทับใจสูงสุด และ OutSystems เองก็ช่วยตอบโจทย์การพัฒนา Software ที่ต้องการความยืดหยุ่นที่สูงนี้ได้ดี และ Application ที่พัฒนาขึ้นมานี้ก็สามารถใช้งานได้กับทั้งระบบที่เป็น Android และ iOS ได้ทันที ทำให้องค์กรสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ Mobile Device ที่ตอบโจทย์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม
การจัดการกับ Digital Business Process ในการทำ Business Process Management ที่ทุกธุรกิจต้องมีการปรับปรุงกระบวนการเหล่านี้อยู่ตลอด และนำเทคโนโลยี Automation เข้ามาเสริมในแต่ละส่วนของการทำงาน OutSystems ได้มีบทบาทสำคัญในฐานะตัวช่วยที่ทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถวาง Digital Business Process ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและยืดหยุ่น
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของการประยุกต์ใช้ OutSystems ในธุรกิจองค์กรเท่านั้น และในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการใช้งาน OutSystems เพื่อขับเคลื่อนการทำ Digital Transformation อย่างเต็มตัวในหลายอุตสาหกรรมแล้ว
สนใจ OutSystems ติดต่อ CTC Global ได้ทันที
ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีของ OutSystems หรือการประยุกต์นำ Low-Code Development Platform ไปใช้งานในธุรกิจองค์กร สามารถติดต่อทีมงาน CTC Global (Thailand) ได้ทันทีที่โทร 02-059-0411 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ https://www.ctc-g.co.th/