แม้จะเผชิญกับวิกฤตหนักขนาดไหน ทว่าการพัฒนาประเทศต้องไม่หยุดยั้ง และวันนี้ AIS ในฐานะผู้ให้บริการ 5G พร้อมแล้วที่จะช่วยขับเคลื่อนเร่งให้เกิด Digital Transformation และเพิ่มขีดความสามารถให้ธุรกิจไทยเดินหน้าต่อไปสู่ Thailand Industry 4.0
ทิศทางการเตรียมความพร้อมด้าน 5G Digital Infrastructure เป็นอย่างไรและ AIS ร่วมกับคู่ค้าทางธุรกิจจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจไทยด้วยเทคโนโลยี 5G อย่างไร? ร่วมหาคำตอบได้จากบทความนี้
5G กับการสร้างคุณค่าให้ธุรกิจ
5G กลายมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลใหม่สำหรับธุรกิจไทยควบคู่ไปกับบริการอื่น ๆ เช่น Cloud, IoT, Cybersecurity (ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์) เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานในธุรกิจต่าง ๆ และก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ บริการ และรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะช่วยนำโอกาสทางธุรกิจมาสู่ประเทศ อีกทั้งยังเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และช่วยยกระดับเศรษฐกิจของประเทศไทย
5G มีคุณประโยชน์ต่อธุรกิจ 6 ประการ ดังนี้
- Machine Enhance Decision Making
5G ช่วยปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจ อันนำไปสู่การตัดสินใจที่มีคุณภาพดีขึ้น และช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากผู้ทำงาน - Data Rich
5G ช่วยพัฒนาโมเดลธุรกิจวิถีใหม่ด้วยข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาลจากเซนเซอร์ต่าง ๆ - Visualization
5G ใช้ในการประมวลผลเพื่อนำเสนอภาพรวมของการทำงาน - Agile Automation
5G ทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติที่คล่องตัวได้อย่างมีคุณภาพ - Intelligent Efficiency
5G ช่วยยกระดับการปฏิบัติงาน ลดการสูญเสียในขณะที่ยังเสริมคุณภาพให้สูงขึ้น - Trusted Connections
5G มอบการเชื่อมต่อที่มั่นคงปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ ช่วยให้มั่นใจได้ว่า การปฏิบัติงานสำคัญจะมีความต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก
5G มีการนำไปประยุกต์ใช้งานในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม อาทิ
- การผลิต (Manufacturing)
5G สามารถยกระดับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงาน และลดความเสี่ยงในการละเมิดข้อปฏิบัติในการทำงาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น - การค้าปลีก (Retail)
5G ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสต็อกสินค้าขึ้นชั้นวาง วิเคราะห์ Customer Journey รวมถึงการให้บริการใหม่ ๆ เช่น การรับส่งสินค้าริมทาง - การขนส่ง (Transportation)
5G สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของท่าเรือและสนามบินได้ เช่น การลงจอดและขนถ่ายสัมภาระของเครื่องบิน การนับผู้โดยสารและการวิเคราะห์การจราจรและที่จอดรถ - ความปลอดภัยสาธารณะและสุขภาพ (Public Safety & Health)
ในด้านความปลอดภัยสาธารณะนั้น เมืองอัจฉริยะ (Smart City) สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G เช่นเดียวกับการประยุกต์ใช้ 5G สำหรับการดูแลสุขภาพเพื่อทุเลาอาการจาก COVID-19 - โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)
5G สามารถตรวจสอบและจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานของยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองในอนาคต ซึ่งต้องรองรับการเชื่อมต่อพร้อมกับเซนเซอร์ขนาดใหญ่
เส้นทางสู่ 5G Digital Infrastructure
นอกจากการประยุกต์ใช้งาน 5G ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น AIS ก็ได้ร่วมมือกับพันธมิตรหลายรายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อร่วมทดสอบการใช้งาน 5G และค้นหาคุณประโยชน์จากการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ตามการขยายการใช้งาน 5G ที่มากขึ้นด้วย
- ระยะทดลองสำรวจ (ปี 2019 – 2021)
ขั้นตอนนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการประมูลคลื่นความถี่ มีการทดลองใช้งาน 5G และเริ่มมีการลงทุนสำหรับการเปิดตัว 5G ทั่วประเทศ - ระยะทดสอบต้นแบบ (ปี 2021 – 2022)
เมื่อโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์ม 5G มีพร้อมสามารถขยายขนาดต้นแบบได้ ธุรกิจต่างเริ่มปรับใช้ 5G เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร - ระยะขยายผลการใช้งาน (ปี 2022 เป็นต้นไป)
การใช้งาน 5G จะเติบโตขึ้นอย่างมาก เมื่อธุรกิจต่าง ๆ เล็งเห็นคุณค่าของ 5G ก็จะเกิดการนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการเกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ด้วย
มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2025 กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ใช้เทคโนโลยี 5G เป็นอันดับต้น คือ ภาคการผลิต ซึ่งนำเทคโนโลยี 5G ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลาย ทั้งในโรงงานอัจฉริยะและอุตสาหกรรม 4.0 ร่วมกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น AR/VR, Edge, Clouds, IoT ขนาดใหญ่, การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ และ AI เห็นได้จากตัวอย่างการใช้งานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Machine Vision ที่มาพร้อมการวิเคราะห์วิดีโอ, ยานยนต์นำทางอัตโนมัติ, ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม และรูปแบบการผลิตที่ยืดหยุ่นได้
AIS 5G กับการลงทุนเพื่อธุรกิจไทย
ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี AIS ได้ลงทุนและพัฒนา 5G ให้พร้อมใช้งานในธุรกิจต่าง ๆ ด้วยการจัดสรรช่วงคลื่นความถี่ที่ครอบคลุมและกว้างที่สุดในทุกย่านความถี่ ตั้งแต่ย่านความถี่ต่ำ กลางและสูง พร้อมรองรับความต้องการของภาคธุรกิจ ซึ่งการมีคลื่นความถี่หลากหลายนั้นช่วยให้ AIS สามารถให้บริการ 5G ที่ดีที่สุดในบรรดาผู้ให้บริการระดับเดียวกันได้
- ย่านความถี่ต่ำ (700 MHz) มีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขวางและมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นสำหรับการใช้งานในอาคาร ทั้งยังเหมาะสำหรับการใช้งานภายนอกรวมถึง IoTเช่น Smart City, Smart Metering และ Smart Agriculture
- ย่านความถี่กลาง (2600 MHz) ให้การครอบคลุมและความจุที่ดี ความเร็วที่สูงขึ้นและเหมาะสำหรับการใช้งานส่วนใหญ่
- ย่านความถี่สูง (26 GHz) มาพร้อมย่านความถี่ที่กว้างเป็นพิเศษ แม้จะมีความครอบคลุมที่แคบกว่า แต่ก็มีความเร็วที่สุดและความจุสูงสุด ซึ่งย่านความถี่สูงนี้เหมาะสำหรับเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) ในสถานที่จำเพาะ เช่น โรงงาน ท่าเรือ หรือสนามบิน เป็นต้น ย่านความถี่ที่สูงขึ้นมาพร้อมกับการตัดแบ่งโครงข่าย (Network Slicing) สามารถรองรับบริการประเภท Multi-Gigabit ได้โดยมีอัตราความหน่วงที่ต่ำมาก
ในแง่ความครอบคลุมของพื้นที่นั้น นับว่า AIS มีเครือข่ายทั่วประเทศที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมจำนวนประชากรมากกว่าร้อยละ 70 ภายในสิ้นปีนี้ โดยเน้นพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และพื้นที่ EEC ซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลของไทย โดยเฉพาะกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ท่าเรือและสนามบิน
นอกจากนี้ AIS ยังได้ลงทุนในแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับ 5G เพื่อมอบโครงสร้างพื้นฐานที่ครบถ้วนและจำเป็นสำหรับธุรกิจ ดังนี้
SA/NSA (Stand Alone/Non-Stand Alone) Dual Network
การใช้งานบนเครือข่ายคู่ SA/NSA ทำให้ 5G สามารถแสดงประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ นำมาซึ่งความสามารถใหม่ ๆ สู่การนำไปประยุกต์ใช้งานกับธุรกิจ
Network Slicing
การตัดแบ่งโครงข่ายช่วยสร้างเครือข่ายเสมือนเฉพาะได้หลายเครือข่ายบนโครงสร้างพื้นฐานเดียวกันได้ โครงข่ายที่ถูกตัดแบ่งออกมาแต่ละชั้นจะมีลักษณะเฉพาะตัวและมีเอกลักษณ์ของตนเองตามที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะกับข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละการใช้งาน
แอปพลิเคชันบางตัว เช่น AR/VR หรือ Robotics นั้น ต้องการความหน่วงเวลาที่ต่ำมากและได้ปริมาณงานที่สูงขึ้น ในขณะที่แอปพลิเคชันอื่น ๆ สามารถยอมรับปริมาณงานที่ต่ำกว่าและความหน่วงเวลาที่สูงกว่าได้ ซึ่งการตัดแบ่งโครงข่ายสามารถกำหนดค่าได้ด้วยการลำดับความสำคัญในเครือข่าย (QoS) ที่แตกต่างกันในแต่ละแอปพลิเคชัน ส่งผลให้มีต้นทุนที่เหมาะสม ลดความซับซ้อนและจัดการเครือข่ายได้ดีขึ้น
Multi-access EDGE Computing (MEC)
AIS มีระบบนิเวศน์ประมวลผลแบบ MEC เพื่อการใช้งาน 5G ที่สามารถนำ Edge Computing ไปใช้แบบ On-premises หรือที่ Data Center ของ AIS ทั่วประเทศกับคู่ค้าระดับโลกอย่าง Microsoft, HPE เป็นต้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน
Private Network
5G Private Network เพื่อการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) มอบคุณลักษณะหลัก 3 ประการ ได้แก่ ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ
การใช้งาน 5G Private Network เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมการผลิตที่ต้องการการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย เห็นได้จากตัวอย่างการใช้งานในโรงงานที่สามารถกำหนดขอบเขตพื้นที่ทำงานให้เป็นส่วนตัวและปลอดภัย ปลอดสัญญาณรบกวน เชื่อมต่อกับระบบภายในต่าง ๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ รองรับการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ระหว่างระบบ อีกทั้งสามารถประมวลผลขั้นสูงพร้อมการตอบสนองแบบเรียลไทม์ได้
แพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกับ 5G ไม่ว่าจะเป็น SA/NSA Dual Network, Network Slicing, MEC และ Private Network ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการมอบโครงสร้างพื้นฐานที่ครบถ้วนและจำเป็นสำหรับธุรกิจ ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตด้วยระบบอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเชิงลึกพร้อมใช้งานได้จริง อำนวยความปลอดภัยให้กับสถานที่ปฏิบัติงาน และยกระดับประสบการณ์การใช้งานในภาพรวมให้แก่ลูกค้า
AIS จับมือพันธมิตร เสริมแกร่งบริการเพื่อธุรกิจไทย
AIS ได้ร่วมงานกับพันธมิตรด้าน Operational Technology และ System Integrator หลายราย ซึ่งล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์อันยาวนานในสาขาของตน โดยมุ่งสร้างระบบนิเวศน์อันแข็งแกร่งร่วมกับพันธมิตรจากหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้า รองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและเร่งการทำ Digital Transformation ของลูกค้าด้วย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ AIS เชื่อมั่นว่า เทคโนโลยี 5G จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างครอบคลุมในทุกธุรกิจ และยังเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุนดำเนินงาน และส่งผลให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับความมุ่งมั่นของ AIS Business ที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีและบริการดิจิทัลต่าง ๆ ที่ส่งมอบด้วยมืออาชีพที่มากความสามารถและไว้ใจได้ สู่การนำพาประเทศไทยไปยัง Thailand Industry 4.0
สำหรับลูกค้าองค์กรที่สนใจโซลูชันของ AIS สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของคุณ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล [email protected]