เปิดโลกแห่งการเรียนรู้กับ Hibrary: ห้องสมุดออนไลน์สำหรับองค์กร รับวิถี New Normal

0

ในยุคสมัยที่วิถีชีวิตเปลี่ยนไปสู่การใช้ชีวิตแบบดิจิทัลและ New Normal ทำให้เราไม่ค่อยเห็นใครใช้บริการห้องสมุดเท่าไรนัก โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลข่าวสารเข้าถึงได้ผ่านมือถือส่วนตัว อีกทั้งสถานการณ์ COVID-19 ที่ไม่เอื้อต่อการใช้สิ่งของสาธารณะร่วมกัน ส่งผลให้ห้องสมุดทางกายภาพนั้นไม่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบ

Image credit: Hibrary

อย่างไรก็ดี หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ E-book ก็ยังเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกยอดนิยมบนมือถือหรืออุปกรณ์โมบายล์ที่มีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยข้อได้เปรียบเรื่องความสะดวกในการพกพาและการเข้าถึงที่ง่ายกว่า จุดนี้เองจึงเป็นที่มาของ Hibrary ห้องสมุดออนไลน์สำหรับองค์กร เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตคนยุคใหม่

รู้จัก Hytexts ผู้พัฒนา Hibrary

Hibrary เป็นระบบห้องสมุดออนไลน์สำหรับองค์กร พัฒนาโดย บริษัท ไฮเท็คซ์ อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท เมพ คอร์ปอเรชัน จำกัด ร้านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อันดับ 1 ในประเทศไทย และยังเป็นบริษัทในเครือเซ็นทรัล ในปี 2017 โดยบริษัทได้ดำเนินธุรกิจทางด้านสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และ E-commerce และพัฒนาแพลตฟอร์มจำหน่าย E-book บนชื่อเว็บไซต์ hytexts.com ให้บริการตั้งแต่ปี 2011 พร้อมทีมงานและผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม E-book มามากกว่า 10 ปี

คุณพัฒนา พิลึกฤาเดช
ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ
บริษัท ไฮเท็คซ์ อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด

บริษัท ไฮเท็คซ์ เป็นผู้นำในการพัฒนา E-book ในรูปแบบไฟล์ EPUB และได้พัฒนาไฟล์ EPUB ให้กับสำนักพิมพ์ชั้นนำมากกว่า 10,000 เรื่อง เช่น บจก. นานมี บุ๊คส์, บจก. สถาพรบุ๊คส์ และบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผู้นำในการจัดจำหน่ายเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ถนอมสายตาที่เป็นที่สนใจและได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

บริษัทได้พัฒนา Hibrary ขึ้นมาเมื่อปี 2019 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มและ E-book ให้ได้มาตรฐานสากล สนับสนุนให้มีการพัฒนาสื่อต่าง ๆ เพื่อให้มี E-book ที่แพร่หลายครอบคลุมทุกหมวดหมู่ รองรับการเข้าถึง (Accessibility) ของกลุ่มผู้ใช้งานบางกลุ่มที่ไม่สามารถอ่านเหมือนคนทั่วไป เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก

E-library เกิดนานแล้ว แต่ไม่รุ่ง?

อันที่จริงแล้ว E-library ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ผลตอบรับยังไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น ทางบริษัท ไฮเท็คซ์ เล็งเห็นถึงปัญหาของระบบ E-library ที่ผ่านมา โดยพบว่า องค์กรมากกว่า 75% ไม่ประสบความสำเร็จในการใช้ระบบห้องสมุดออนไลน์ เนื่องจากยอดดาวน์โหลด E-book ยอดการใช้งานไม่ถึงเป้า ทำให้ยอดงบประมาณในการจัดซื้อหนังสือลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากเนื้อหาของ E-book ที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้งาน และไม่ค่อยมี E-book อัปเดตใหม่ในระบบเพราะหมดงบไปกับค่าระบบและค่าบำรุงรักษาระบบ ทำให้เนื้อหาบางประเภทไม่ทันยุคสมัย

หากพิจารณาในด้านการใช้งานแล้ว ฟีเจอร์ที่ออกแบบมานั้นไม่ได้คำนึงถึงผู้อ่าน มีเพียงแค่เปิดไฟล์ได้เฉย ๆ ทำให้ไม่สามารถดึงดูดให้อ่านได้ต่อเนื่อง อีกทั้งเรื่องการลงทะเบียนใช้งานก็ยุ่งยาก ไม่ทันใจผู้อ่านยุคดิจิทัลสักเท่าไรนัก และทำให้มียอดการดาวน์โหลด E-library ขององค์กรน้อยลง ไม่สัมพันธ์กับสัดส่วนผู้ใช้งาน ขนาดองค์กร และเงินที่ลงทุนไป

Hibrary คิดใหม่ พัฒนา E-library ให้ตอบโจทย์

จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น Hibrary จึงได้รับการพัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงความต้องการของทั้ง 3 ฝ่ายด้วยกัน ได้แก่ องค์กร สำนักพิมพ์ และผู้อ่าน

สำหรับองค์กรแล้ว ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าของการลงทุนเป็นหลัก ซึ่งข้อดีของ Hibrary นั้น คือ องค์กรไม่ต้องใช้งบในการพัฒนาระบบที่สูง แต่หันไปเน้นงบการซื้อ E-book หรือทรัพยากรที่จะจัดหาเข้ามาให้บริการกับบุคลากรแทน นอกจากนี้ Hibrary ยังมีระบบบริหารจัดการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมข้อมูลสถิติต่าง ๆ เช่น เวลาการอ่านจริง ซึ่งองค์กรสามารถนำข้อมูลส่วนนี้ไปพิจารณาวัดผลความคุ้มค่าของทรัพยากรที่ให้บริการได้ด้วย

ในมุมของสำนักพิมพ์ผู้ให้บริการ E-book เอง ที่กังวลเรื่องลิขสิทธิ์และผลประกอบการนั้น ทาง Hibrary ก็เสนอรูปแบบการขายแบบรายปี หรือแบบใช้งานต่อเนื่องที่ส่งเสริมให้ทางสำนักพิมพ์นำเนื้อหาใหม่ ๆ หรือขายดี มาให้บริการแบบห้องสมุดออนไลน์ โดยสำนักพิมพ์สามารถตรวจสอบสิทธิ์การใช้งานขององค์กรต่าง ๆ ว่าใช้งานที่องค์กรไหน หรือมีระยะเวลาการใช้งานเหลือเท่าไรในแต่ละองค์กร อีกทั้งยังมีระบบจัดการลิขสิทธิ์ (DRM) ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน จุดนี้เองที่ทำให้ Hibrary มีข้อได้เปรียบในการนำเสนอเนื้อหามาให้บริการในรูปแบบห้องสมุดได้ เพราะมีสำนักพิมพ์เข้าร่วมมากกว่า 100 แห่ง และมีคอนเทนต์มากกว่า 10,000 รายการ

ด้านผู้อ่านเองก็ต้องการแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่ายและสวยงาม ออกแบบมาคำนึงถึงประสบการณ์การอ่านที่สบายตา Hibrary จึงสนองตอบความต้องการเหล่านี้ด้วยการนำเสนอฟีเจอร์การอ่านทั้งไฟล์ PDF และ EPUB ครบตามมาตรฐาน อีกทั้งไฟล์ EPUB นั้นยังรองรับการอ่านออกเสียง เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานที่มีปัญหาด้านการอ่าน ที่สำคัญคือสามารถใช้งานได้ทั้งระบบ iOS, Android หรือบนเว็บไซต์ รองรับการใช้งานบนทุกอุปกรณ์ในเวอร์ชันล่าสุดอีกด้วย

Image credit: Hibrary

ฟีเจอร์เด่น สร้างจุดต่าง

สิ่งสำคัญที่จะดึงดูดให้ผู้อ่านหันมาใช้งานแพลตฟอร์ม E-library อย่าง Hibrary ได้ คือ ฟีเจอร์การใช้งานที่ตอบโจทย์ทั้งผู้อ่าน องค์กรและบรรณารักษ์ผู้จัดการห้องสมุด

ผู้อ่านสามารถวางใจได้ว่า แอปพลิเคชัน Hibrary จะใช้งานบนอุปกรณ์ของตนได้ เพราะ Hibrary รองรับการใช้งานบนหลากหลายชนิดอุปกรณ์ ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และมือถือ พร้อมรองรับ OS เวอร์ชันล่าสุด และมีฟีเจอร์ใหม่อัปเดตตลอด นอกจากนี้ ยังมีอินเทอร์เฟซการใช้งานได้อย่างง่ายดาย รองรับไฟล์ E-book ทั้ง PDF และ EPUB ที่อ่านง่าย ปรับขนาดตัวอักษรและจดบันทึกได้ รวมถึงฟีเจอร์อ่านออกเสียงที่เสริมมาสำหรับ Accessibility แก่ผู้ใช้งานที่มีปัญหาในการอ่าน

Image credit: Hibrary

Hibrary มีฟีเจอร์ที่เอื้อต่อการบริหารจัดการระบบของฝั่งองค์กรและบรรณารักษ์ด้วย เช่น ระบบจัดการยืม-คืน-จองคิว ระบบจัดการสิทธิ์ทรัพยากรการอ่านพร้อมกันในรูปแบบเสมือนหนังสือในห้องสมุด ระบบจัดการสมาชิก ระบบจัดการเพิ่ม E-book ใหม่รายเดือนเพื่อให้หนังสือที่ให้บริการมีความสดใหม่อยู่เสมอ เป็นต้น และอีกฟีเจอร์สำคัญ คือ สถิติการใช้งานที่องค์กรสามารถตรวจสอบเวลาการใช้งานเพื่อวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าของทรัพยากรได้ด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น Hibrary มีฟีเจอร์ Kiosk Mode ตามห้องสมุดหรือสถานที่ต่าง ๆ กับพนักงาน เช่น ร้านกาแฟใกล้ออฟฟิศ และรองรับการใช้งานแบบ Walk-in ผู้ใช้งานเพียงสแกน QR Code ก็สามารถเข้าถึงสิทธิ์การใช้งานห้องสมุดแห่งนั้นได้อย่างง่ายดายและสะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องลงทะเบียนใช้งานให้ยุ่งยาก ตัดปัญหาเรื่องการสัมผัส การใช้งานหนังสือร่วมกัน และแก้ปัญหาเรื่องหนังสือชำรุดเสียหาย

Image credit: Hibrary

สำหรับ E-book ที่มีให้บริการนั้น เรียกได้ว่ามีคอนเทนต์ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร เทคโนโลยี ตำราเรียน บริหาร พัฒนาตนเอง วรรณกรรม แม่และเด็ก สุขภาพ ท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งทาง Hibrary มีบริการให้คำปรึกษาการเลือก E-book ให้เหมาะสมกับบุคลากรแต่ละองค์กร เพื่อให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่าและตรงกลุ่มผู้อ่านมากที่สุด

Image credit: Hibrary

เบื้องหลังของแพลตฟอร์ม Hibrary ที่ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีมาก คือ ระบบหลังบ้านของ AWS ที่มีเสถียรภาพ มีความคุ้มค่า และมีระบบที่พร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Lambda Serverless ที่ช่วยลดข้อจำกัดด้านบุคลากรที่ดูแลด้าน Infrastructure, DynamoDB ที่สามารถรองรับ Workload การใช้งานได้สูง, Elemental Media Converter ที่สามารถแปลงเนื้อหาคอนเทนต์ต่าง ๆ ให้อยู่ในมาตรฐานที่เหมาะสำหรับการสตรีมมิง ซึ่งช่วยลดขั้นตอนในการพัฒนา Infrastructure ได้ เป็นต้น ผู้ใช้งานและองค์กรผู้ให้บริการจึงมั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพและเสถียรภาพของระบบห้องสมุดออนไลน์จาก Hibrary บนระบบต่าง ๆ ของ AWS เอง

Hibrary พร้อมเดินหน้าให้บริการ

นับตั้งแต่ต้นปี 2021 Hibrary มีฐานลูกค้าที่ใช้บริการเพียง 4 รายเท่านั้น แต่ปัจจุบัน Hibrary ได้ให้บริการแก่องค์กรต่าง ๆ ครอบคลุมหลากหลายหน่วยงาน ทั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐ บริษัทเอกชน โรงพยาบาล และห้องสมุดประชาชน รวมทั้งสิ้นกว่า 80 องค์กร นับว่าเป็นการเติบโตที่น่าจับตามองด้วยยอดการเติบโตขององค์กรที่ใช้บริการค่อนข้างสูงในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVI0d-19 ที่เอื้อต่อการเติบโตของห้องสมุดออนไลน์ โดยบริษัทได้ตั้งเป้าขยายแพลตฟอร์ม Hibrary มุ่งสู่ 400 องค์กรภายในปี 2022

Image credit: Hibrary

ผู้ที่สนใจอยากลองอ่านหนังสือในห้องสมุดออนไลน์ Hibrary สามารถดาวน์โหลดแอปได้บน iOS และ Android หรือใช้งานผ่านเว็บไซต์ https://www.hibrary.me/

สำหรับองค์กรที่สนใจบริการจาก Hibrary ติดต่อได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้