อยาก Reskill สมัครเลย! วิศวฯ จุฬาฯ เปิดโครงการ Chula Engineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

0

โอกาสแห่งการเรียนรู้มาถึงแล้วกับ “โครงการ Chula Engineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)” รอบที่ 2 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เปิดให้บุคคลภายนอกทั่วไปได้เลือกเรียนวิชาต่าง ๆ เช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Practical IoT) เทคโนโลยีเมตาเวิร์สและการประยุกต์ใช้ และอีกมากมายรวมทั้งสิ้น 13 รายวิชา 

เริ่มเรียนได้ตั้งแต่พฤษภาคม – สิงหาคม 2565 ขึ้นอยู่กับรายวิชา อย่ารอช้า! สมัครได้ทันทีถึงวันศุกร์ที่ 3 มิถุนายนนี้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความนี้

ใครสมัครได้บ้าง?

นับเป็นโอกาสอันดีที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดโครงการฯ นี้แก่บุคคลภายนอกทั่วไปผู้สนใจที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ เพื่อเติมเต็มทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ

เมื่อเข้าเรียนครบตามข้อกำหนดของแต่ละรายวิชา ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเข้าร่วมอบรม

หากผู้เรียนต้องการขอสะสมหน่วยกิตเพื่อขอเทียบโอนหน่วยกิตเมื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรเต็มเวลา ก็ทำได้เช่นกัน โดยต้องสอบประเมินผลความรู้โดยประเมินผลแบบ Letter Grade (เกรด A, B+, B, C+, C, D+, D และ F) และต้องได้รับผลการประเมินในรายวิชานั้นไม่ต่ำกว่า B หรือเทียบเท่า

(Image credit: Chula Engineering)

รายวิชาที่เปิดสอน 

โครงการนี้เปิดสอนแบบ Modules ให้แก่ผู้ที่สนใจได้เลือกเรียนรายวิชาต่าง ๆ 13 รายวิชา ได้แก่

  • การเรียนรู้ของเครื่องและการวิเคราะห์อนุกรมเวลา
    (Machine Learning and Time Series Analysis)
  • การใช้งานอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
    (Practical IoT)
  • ปลูกธุรกิจ ปั้นอนาคต ยานยนต์ไฟฟ้า
    (Paving your way to e-mobility)
  • แนวโน้ม เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสิ่งแวดล้อม
    (Environmental Trend, Technology, and Innovation)
  • การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม: นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ EEC 
    (Integrated Water Resources Management)
  • พลศาสตร์ของโครงสร้าง
    (Dynamics of Structures)
  • เทคโนโลยีเมตาเวิร์สและการประยุกต์ใช้
    (Metaverse Technology and Applications) 
  • การใช้ Mvtec Halcon เบื้องต้นสำหรับอุตสาหกรรม
    (Introduction of MVtec Halcon for Industries)
  • การจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติเบื้องต้น
    (Fundamental Risk and Disaster Management)
  • คาร์บอนเครดิตสำหรับภาคธุรกิจน้ำมันและก๊าซ
    (Carbon credits for oil and gas business sector)
  • เป้าหมายใหม่ของการปล่อย CO2 และมีเทนของธุรกิจสำหรับน้ำมันและก๊าซ 
    (New CO2 and Methane emissions target for oil and gas industries)
  • กลยุทธ์จัดทำฟาร์มคาร์บอน
    (Carbon farming strategies)
  • เครือข่ายการดำเนินการคาร์บอน
    (Carbon Action Partnership)

รูปแบบการเรียน

มีทั้งแบบ Online อย่างเดียว / Onsite อย่างเดียว / หรือทั้ง Online และ Onsite และในบางรายวิชาก็มีการศึกษาดูงาน และกิจกรรม Workshop ฝึกปฏิบัติจริงด้วย ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละวิชา

สามารถอ่านรายละเอียดเนื้อหารายวิชา วันและเวลาเรียน ค่าลงทะเบียน และรูปแบบการเรียนการสอนได้ที่นี่

สนใจสมัครเรียน

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัคร กรอกรายละเอียดและแนบเอกสารประกอบการสมัครส่ง E-mail: [email protected] โดยดูขั้นตอนการสมัครเข้าเรียนได้ที่นี่

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณรวิวรรณ จันทรแม้น หรือ คุณธนกฤต สินเปรม ภารกิจบูรณาการการศึกษา ฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

(Image credit: Chula Engineering)