ในช่วงเวลาที่วิกฤตเกิดขึ้นมากมาย ทั้งเรื่องการแพร่ระบาด COVID-19 พลังงานขาดแคลน สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ไปจนถึงเรื่องความไม่แน่นอนที่อาจส่งผลกระทบในวงกว้างจนทำให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุก ๆ อุตสาหกรรมรวมทั้งฝั่งไอทีนั้นล้วนได้รับผลกระทบกันหมด หากแต่ธุรกิจก็จำต้องดำเนินต่อไป แม้สถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ จะเกิดขึ้นอยู่ก็ตาม
บทความนี้คืออีกหนึ่งมุมมองจาก Country Manager แห่ง Alcatel-Lucent Enterprise – คุณสมยศ อุดมนิโลบล ที่ได้มาแชร์มุมมองในสิ่งที่องค์กรควรจะต้องทำในยุคหลังการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ว่าองค์กรควรจะต้องปรับตัวอย่างไร มีแนวทางอะไรบ้าง เพื่อทำให้องค์กรพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ในการทำธุรกิจยุคดิจิทัลและอนาคตที่จะมีความไม่แน่นอน
เส้นทางการทำ Digital Transformation
แน่นอน Digital Transformation คือเทรนด์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ซึ่งมักจะมีสิ่งที่ท้าทายหรือไม่คาดคิดเกิดขึ้นอยู่เสมอ โดย 3 แกนที่คุณสมยศชี้ให้เห็นว่าองค์กรที่ต้องการทำ Digital Transformation ต้องมีนั้น ได้แก่
- Operation Opportunities – โอกาสทางธุรกิจที่ต้องเข้าใจการดำเนินธุรกิจของตัวเองก่อนว่ามีโอกาสทำอะไรที่ก่อให้เกิดรายได้ได้บ้าง
- IT Challenges – ความท้าทายของฝั่งไอทีภายในองค์กรนั้นมีอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเรื่องอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) หรือเครือข่าย (Network) ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน
- Tools – เครื่องมือและระบบต่าง ๆ ที่มีภายในแต่ละแผนกขององค์กรว่ามีอะไรบ้าง เช่น ระบบ IoT, Analytics, ระบบ Process Automation หรือซอฟต์แวร์ในแผนกการเงิน เป็นต้น
เมื่อทำให้ทุกภาคส่วนเห็นภาพทั้ง 3 แกนตรงกันแล้ว การเดินหน้าทำ Digital Transformation ถึงจะสามารถเกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ดี ปัจจัยสำคัญที่สุดนั่นก็ยังเป็นเรื่องของ “งบประมาณ” ซึ่งเหตุการณ์การแพร่ระบาดและวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกนั้นได้ทำให้องค์กรหลาย ๆ แห่งมีการชะลอการลงทุนออกไป แล้วองค์กรควรจะต้องปรับตัวอย่างไร หรือมีทางเลือกอะไรบ้างเพื่อให้อยู่รอดและยังทรานส์ฟอร์มได้ต่อไป
ประเมินตัวเอง (Self-Assessment) ใน 4 ส่วนอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อเกิดวิกฤตขึ้น สิ่งที่คุณสมยศชี้ว่าองค์กรควรจะต้อง “ประเมินตัวเอง (Self-Assessment)” ใน 4 ส่วนอย่างสม่ำเสมอว่าองค์กรของเรานั้นมีอะไรอยู่บ้าง อันประกอบไปด้วย
- Humans – กลุ่มคน ที่องค์กรควรจะต้องเข้าใจว่าลูกค้า (Customer) มีใครบ้าง และพนักงานภายในองค์กรนั้นเป็นอย่างไร
- Infrastructure – โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเครื่อง Server, Storage หรือว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ มีอะไรและทำอะไรได้บ้าง
- Apps – แอปพลิเคชันหรือระบบต่าง ๆ เช่น CRM, ERP ที่มีใช้งานภายในองค์กรว่ามีอะไรบ้าง ต้องดูแลระบบหรือบริหารจัดการแอปพลิเคชันอะไรบ้าง
- IoT – องค์กรมีใช้งานอุปกรณ์ไอโอทีอะไรบ้าง ลักษณะและการใช้งานเป็นอย่างไร เช่น โดรน กล้องวงจรปิด หรือว่าเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เป็นต้น
ค้นหาแพลตฟอร์มที่เชื่อมทั้ง 4 ส่วนเข้าด้วยกัน
หลังจากที่ประเมินทั้ง 4 ส่วนเรียบร้อยแล้วว่าภายในองค์กรมีอะไรบ้าง สิ่งที่ต้องทำในลำดับถัดไป นั่นก็คือต้องมี “แพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงทั้งหมดนี้เข้าด้วยกัน (Connectivity Infrastructure Platform)” เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงทั้ง 4 ส่วนให้สามารถเข้าถึงกันได้อย่างไร้รอยต่อ และทำให้ส่วนหนึ่งสามารถสนับสนุนการทำงานของอีกส่วนหนึ่งได้ทันที
สำหรับแพลตฟอร์มที่มีความสามารถในการเชื่อมโยงดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีให้บริการอยู่ในตลาดมากมาย ซึ่งทาง Alcatel-Lucent Enterprise ก็มีแพลตฟอร์มลักษณะดังกล่าวให้ใช้งานด้วยเช่นกัน นั่นคือ “Rainbow” แพลตฟอร์มตัวกลางที่ใช้ในการสื่อสารส่งข้อความระหว่างกันได้แบบ End-To-End ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ “ฟรี” ไม่คิดค่าใช้จ่าย
Use Cases จากแพลตฟอร์ม Rainbow
แพลตฟอร์ม Rainbow ของทาง Alcatel-Lucent Enterprise นั้นได้เข้าไปช่วยเหลือในหลาย ๆ องค์กรในการเชื่อมโยงทั้ง 4 ส่วนมาแล้วทั่วโลก โดยตัวอย่าง Use Cases ที่คุณสมยศหยิบยกขึ้นมาให้เห็นภาพมากขึ้น เช่น
ตรวจสอบกล้องวงจรปิดดับหรือเบลอให้แบบอัตโนมัติ
กล้องวงจรปิดแบบ PoE (Power over Ethernet) ที่มักจะพบเจอกับปัญหาหน้างาน เช่น ภาพไม่ชัด ระบบไม่เห็นกล้อง ซึ่ง Rainbow ได้เป็นแพลตฟอร์มกลางที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์กล้องวงจรปิดให้แจ้งเตือนปัญหาไปยังผู้ปฏิบัติงานได้แบบอัตโนมัติว่ากล้องดับหรือว่าเบลอแล้ว ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นจะต้องนั่งเฝ้าหน้าจออยู่ตลอดเวลาก็ได้
เชื่อมโยงอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานเดิม ทรานส์ฟอร์มเป็น Smart City
เรื่องราวจากเมือง Liverpool ในสหราชอาณาจักรที่ Alcatel-Lucent Enterprise ได้นำแพลตฟอร์มไปเชื่อมโยงอุปกรณ์เดิม ๆ ที่มีอยู่แล้วภายในเมือง เช่น กล้องวงจรปิด เราเตอร์ Wi-Fi หน้าจอต่าง ๆ ฯลฯ ให้สามารถทำงานร่วมกับรถประจำทางและรถพยาบาล เกิดเป็น Smart City ที่สามารถแสดงข้อมูลหรือว่าแจ้งเตือนข้อมูลไปยังจุดต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
เชื่อมโยงโทรศัพท์กับ MS Teams
ช่วงที่ COVID-19 แพร่ระบาดอย่างหนักได้ทำให้พนักงานออฟฟิศจำเป็นต้องใช้ระบบประชุมออนไลน์แทน ซึ่ง MS Teams คือหนึ่งในเครื่องมือยอดนิยมที่ใช้งานกันมาก หากแต่เมื่อสถานการณ์เริ่มกลับมาดีขึ้น และพนักงานเริ่มกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศแล้ว Alcatel-Lucent Enterprise จึงได้เข้าไปช่วยเชื่อมโยงระบบตู้โทรศัพท์แบบอะนาล็อกให้เข้ากับได้กับ MS Teams จนสามารถทำงานร่วมกันได้สำเร็จ
บทส่งท้าย
ทุกวิกฤตล้วนมีโอกาสอะไรบางอย่างแอบซ่อนไว้เสมอ และสิ่งที่องค์กรควรจะต้องทำเพื่อรับมือกับทุกสถานการณ์ในอนาคต นั่นก็คือการประเมินตัวเองทั้ง 4 ส่วนว่ามีอะไรบ้าง และควรจะต้องมีแพลตฟอร์มที่เชื่อมทั้งหมดนั้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้องค์กรสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ความไม่แน่นอนในยุคดิจิทัลปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง
ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถรับชมวิดีโอการบรรยายเรื่อง “ก้าวข้ามขีดจำกัดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และแพลตฟอร์มบนเครือข่าย พร้อมรับความต้องการทางธุรกิจยุคดิจิทัล” โดยคุณสมยศ อุดมนิโลบล Country Manager จาก Alcatel-Lucent Enterprise ภายในงานสัมมนา TTT 2022 Reinforce: Enterprise IT Infrastructure ที่เพิ่งจัดไปเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ได้ที่นี่
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดโซลูชันของทาง Alcatel-Lucent Enterprise สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ พร้อมติดตามข่าวสารจากทาง Alcatel-Lucent Enterprise ได้ในช่องทาง Facebook, Twitter, LinkedIn, YouTube หรือว่า Instagram รวมทั้งสามารถดูรายละเอียดของแพลตฟอร์ม Rainbow ได้ที่นี่