นักวิจัยแห่งห้องปฏิบัติการ CSAIL แห่ง MIT ได้พัฒนาระบบ AI ผ่าน 2 อัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง (Maching Learning Algorithm) ที่สามารถตรวจจับมะเร็งตับอ่อนได้ในเกณฑ์ที่สูงกว่ามาตรฐานการวินิยฉัยในปัจจุบัน ซึ่งสามารถตรวจับมะเร็งตับอ่อนได้ล่วงหน้าก่อนที่จะไม่สามารถรักษาได้แล้ว
โดยโมเดลทั้งสองนั้นได้สร้าง “PRISM” โครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับรูปแบบ Pancreatic Ductal Adenocarcinoma (PDAC) รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดของมะเร็งตับอ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จะสามารถตรวจจับ PDAC ในผู้ป่วยได้เพียงราว 10% เท่านั้น หากแต่ในทางกลับกัน PRISM ของ MIT นี้สามารถตรวจจับ PDAC ได้สูงถึง 35%
โครงการ PRISM ของ MIT นั้นเกิดขึ้นมาเมื่อราว 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแรงบันดาลใจที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนานั้นคือการตรวจจับ PDAC ได้ล่วงหน้าก่อนที่ผู้ป่วยจะถูกวินิจฉัยพบเจอได้หลังมะเร็งได้ลุกลามไปสู่สถานะ (Stage) ถัดไปแล้ว ซึ่งราว 80% จะถูกวินิจฉัยว่ามันสายเกินไปเป็นที่เรียบร้อย
เรียกว่าเป็นอีกพัฒนาการของ AI ในด้านการแพทย์ที่น่าจะช่วยทำให้การรักษาโรคร้ายต่าง ๆ นั้นสามารถทำได้ดีขึ้น ซึ่งอาจช่วยให้ผู้คนรอดพ้นจากมะเร็งได้มากขึ้นในอนาคต แม้ว่า ณ ตอนนี้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นการพัฒนาก็ตาม แต่ก็ถือว่ามีความหวัง