ก้าวไปอีกนิดหนึ่งแล้วในการสร้างหุ่นยนต์นิ่ม (soft robot) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้น โดยนักวิจัยจาก Rice University ได้พัฒนาเทคนิคการพิมพ์ 3 มิติ (ทีมเรียกกันว่า “4D”) สำหรับวัสดุที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างอื่นๆ ได้อัตโนมัติเมื่อถูกผ่านกระแสไฟฟ้า หรือเปลี่ยนอุณหภูมิ หรือเพียงแค่กดน้ำหนักลงไป
โดยทีมได้สร้างพอลิเมอร์คริสตัลเหลว “หมึก (ink)” โดยเชื่อมเอาโมเลกุล 2 ชุด คือชุดที่หนึ่งเพื่อใช้ทำรูปร่างพิมพ์แบบต้นฉบับ กับอีกส่วนคือเพื่อควบคุมวัสดุชุดแรกอีกที โดยกรณีนี้นักวิทยาศาสตร์เพียงแค่ให้ความร้อนหรือความเย็นกับวัสดุเพื่อพลิกไปมาระหว่างที่พื้นเรียบกับพื้นที่เป็นหลุม ซึ่งก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ขึ้นมา
โดยทีม Rice กล่าวว่า ความท้าทายคือการสร้างพอลิเมอร์ผสมที่อาจนำไปใช้พิมพ์ในอ่างตัวเร่งปฏิกิริยาโดยที่ไม่สูญเสียรูปร่างได้
สิ่งนี้ก็ยังมีข้อเสียอยู่ คือยังไม่สามารถพิมพ์โครงสร้างที่ยังไม่รองรับได้ จึงทำให้ยังคงจำกัดรูปร่างที่เป็นไปได้ในการสร้างขึ้นมาอยู่ และทำให้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าสิ่งนี้พร้อมในการผลิตระดับขนาดใหญ่อันเป็นที่ต้องการในโลกความเป็นจริง ซึ่งการใช้งานสิ่งนี้อาจจะยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี หากแต่การใช้งานที่ต้องการนั้นชัดเจน คือเราอาจจะสร้างหุ่นยนต์นิ่มที่เคลื่อนที่ได้เหมือนแมงกระพรุน หรือการปลูกถ่ายทางการแพทย์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เพื่อใส่เข้าไปให้เหมาะกับร่างกายแต่ละคนได้ เป็นต้น
Source : http://www.engadget.com/3d-printing-shapeshifitng-robots-214949180.html